Football Sponsored

เหตุจลาจลในสนามฟุตบอลอินโดฯ ทำเสียชีวิตแล้ว 174 คน

Football Sponsored
Football Sponsored

มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 174 คนในเหตุการณ์ความวุ่นวายที่สนามฟุตบอลแห่งหนึ่งของสโมสรในอินโดนีเซียเมื่อวันเสาร์ หลังจากที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายบรรดาแฟนฟุตบอลที่ก่อจลาจลหลังเกมการแข่งขันจบลง จนทำให้เกิดความแตกตื่นและเหยียบกันจนเสียชีวิต

เหตุเหยียบกันตายครั้งนี้เกิดขึ้นที่สนามกีฬากันจูรูฮาน อำเภอมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก อินโดนีเซีย หลังจากที่ทีมเจ้าบ้าน อเรมา เอฟซี (Arema FC) พ่ายแพ้ต่อทีมเปอร์เซบายา เอฟซี (Persebaya FC) 3-2 แฟนฟุตบอลของทีมเจ้าบ้านต่างไม่พอใจและขว้างปาขวดและสิ่งของต่าง ๆ ใส่นักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ในสนาม หลายคนวิ่งลงไปในสนามฟุตบอลจนเกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่

ทั้งนี้ ในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ทีมอเรมาไม่เคยพ่ายแพ้ในบ้านต่อทีมคู่ปรับ เปอร์เซบายา มาก่อน ทำให้แฟนฟุตบอลต้องการทวงถามความรับผิดชอบจากบรรดาเจ้าหน้าที่ของทีมอเรมา

This picture taken on October 1, 2022 shows security personnel (lower) on the pitch after a football match between Arema FC and Persebaya Surabaya at Kanjuruhan stadium in Malang, East Java.

หัวหน้าตำรวจอำเภอมาลังระบุว่า มีผู้เข้าชมเกมเมื่อวันเสาร์ 42,000 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นแฟนของทีมเจ้าบ้าน เนื่องจากผู้จัดการแข่งขันสั่งห้ามแฟนของทีมเยือนเข้าสนามเพื่อป้องกันเหตุวุ่นวาย

ตำรวจปราบจลาจลพยายามเข้าควบคุมสถานการณ์และยิงแก๊สน้ำตาใส่บรรดาแฟนฟุตบอล รวมทั้งบนอัฒจันทร์ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่แฟนบอลที่พยายามแย่งกันหาทางออกจากสนามกีฬา จนเกิดเหตุเหยียบย่ำกันจนเสียชีวิต

ตำรวจเปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุอย่างน้อย 34 คน เป็นตำรวจสองคน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอีกมากกว่า 300 คน ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นเป็นเด็กหลายคน ถือเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมจากการแข่งขันกีฬาที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก

A medical officer checks riot victims at Saiful Anwar hospital following a riot after the league BRI Liga 1 football match between Arema vs Persebaya in Malang, East Java province, Indonesia, October 2, 2022.

ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด แถลงแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอให้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีโศกนาฏกรรมจากการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ พร้อมสั่งการให้สืบสวนมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้แก๊สน้ำตาในสนามกีฬา

ด้านหัวหน้าตำรวจจังหวัดชวาตะวันออก นีโก อฟินตา แถลงในวันอาทิตย์ว่า “ตำรวจได้ใช้มาตรการป้องปรามแล้วก่อนที่จะยิงแก๊สน้ำตา หลังจากที่แฟนฟุตบอลพากันทำร้ายตำรวจและก่อจลาจล”

จีอันนี อินฟานติโน ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลโลก หรือ ฟีฟ่า (FIFA) มีแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์นี้ โดยระบุว่า “วงการฟุตบอลโลกต่างตกตะลึง”

ด้านสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย PSSI สั่งระงับการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดในประเทศโดยไม่มีกำหนด และสั่งห้ามทีมอเรมาจากการเป็นเจ้าบ้านตลอดการแข่งขันในฤดูกาลนี้

  • ที่มา: เอพี
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.