Football Sponsored

“ฮัมเมล” แบรนด์กีฬาโคนม ดีไซน์ชุดแข่งประท้วง “กาตาร์” แลกชีวิตคนนับพันจัดบอลโลก

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ฮัมเมล (Hummel)” แบรนด์กีฬาแห่งแดนโคนม คลอดชุดแข่งสีเดียวของ ทีมชาติเดนมาร์ก แสดงถึงการประท้วง กาตาร์ เจ้าภาพศึกฟุตบอลโลก 2022

กาตาร์ เผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจาก กลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อคนงาน ก่อนเริ่มทัวร์นาเมนต์ ด้วยจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต หลายพันคน ระหว่างการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานต่างๆ

“ฮัมเมลสปอร์ตส” ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาของ เดนมาร์ก เผยความต้องการสื่อความหมาย 2 ทาง หลังเปิดตัวชุดแข่งทั้ง 3 แบบของ “เดนิช ไดนาไมต์” สำหรับการแข่งขัน เวิลด์ คัพ วันที่ 20 พฤศจิกายน-18 ธันวาคมนี้ ทางโซเชียล มีเดีย

ชุดสีแดงรุ่นใหม่ ได้รับแรงบันดาลใจจาก ยูโร 1992 ซึ่งเป็นแชมป์แรกระดับเมเจอร์ของประเทศ ทว่าแทบมองไม่เห็นโลโก้ และรายละเอียดต่างๆ เช่นเดียวกับ เธิร์ด คิต สีดำล้วน ซึ่งองค์กรบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า เป็นสีแห่งความเศร้าโศก

“ฮัมเมลสปอร์ต” โพสต์ข้อความบนเพจ “อินสตาแกรม” สื่อสังคมออนไลน์ “ตามดีไซน์ของชุดแข่ง ทีมชาติเดนมาร์ก เราต้องการสื่อความหมาย 2 ทางควบคู่กัน ผลิตภัณฑ์เหล้านี้ไม่ใช่เพียงได้รับแรงบันดาลใจจาก ยูโร 1992 รำลึกถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในวงการลูกหนังของ เดนมาร์ก แต่ยังเป็นการประท้วง กาตาร์ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน”

“นั่นคือสาเหตุที่เราลดความโดดเด่นของรายละเอียดต่างๆ บนชุดแข่งตัวล่าสุดของ เดนมาร์ก รวมถึงโลโก้ของเรา และตราสัญลักษณ์ของทีม เราไม่ต้องการให้มันถูกสังเกตเห็น ระหว่างการแข่งขันซึ่งแลกมาด้วยชีวิตคนนับพัน เราสนับสนุน ทีมชาติเดนมาร์ก ทุกอย่าง แต่ไม่ใช่แบบเดียวกับที่เราสนับสนุน กาตาร์ ในฐานะเจ้าภาพ”

“เราเชื่อมั่นว่ากีฬาเป็นสิ่งที่หล่อหลอมความสามัคคีของคน และเมื่อมันไม่เป็นเช่นนั้น เราก็ต้องแสดงออก”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.