Football Sponsored

แข้งสาวทีมชาติไทยได้คิวอุ่นเกือกออสซี่ดีเดย์15 พ.ย.นี้

Football Sponsored
Football Sponsored

“ชบาแก้ว” ทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ตอบรับอุ่นเครื่อง กับ ทีมชาติออสเตรเลีย ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ ก่อนทำศึกเพลย์ออฟ ระหว่างทวีป ในเดือนก.พ. 66 เพื่อหาอีก 3 ทีม ไปเล่นฟุตบอลโลก

ภายหลังจากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลออสเตรเลีย ได้ส่งหนังสือเชิญทัพ “ชบาแก้ว” ทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เดินทางไปอุ่นเครื่อง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก ในปี 2023 

ล่าสุด สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ตอบรับการส่งทีมฟุตบอลหญิงเข้าร่วมการแข่งขันรายการดังกล่าว เพื่อเป็นการเตรียมทีมสำหรับการแข่งขัน ฟุตบอล inter-confederation รอบเพลย์ออฟระหว่างทวีป จะจัดขึ้นที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 โดยจะคัดเลือกอีก 3 ทีมเข้าไปเล่นฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก ในปี 2023 

 สำหรับการแข่งขันระหว่าง ฟุตบอลหญิงทีมชาติออสเตรเลีย พบกับ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย จะจัดขึ้นที่เซนทรัล โคสต์ สเตเดี้ยม ในวันที่ 15 พ.ย.65 โดยสถิติการพบกัน 8 ครั้งหลังสุด เป็นออสเตรเลียที่ชนะไปทั้งหมด 6 ครั้ง เสมอ 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดที่ทั้งสองทีมพบกับ ทีมชาติไทย เสมอกับ ออสเตรเลีย ไป 2-2 ในศึกชิงแชมป์อาเซียน 2022 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

 ทั้งนี้สถานการณ์ล่าสุดมี 9 ชาติที่ได้สิทธิ์เพลย์ออฟแล้ว ประกอบด้วย ทวีปเอเชีย : ไต้หวัน (38), ไทย (41) , ทวีปอเมริกาใต้ : ชิลี (39), ปารากวัย (51), ทวีปแอฟริกา : แคเมอรูน (59), เซเนกัล (84), ทวีปอเมริกาเหนือ/กลาง : เฮติ (56), ปานามา (57) , ทวีปโอเชียเนีย : ปาปัวนิวกินี (49) และ ทวีปยุโรปที่ยังทำการแข่งขันรอบคัดเลือกไม่เสร็จ

ที่มาของภาพ : siamsport

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.