Football Sponsored

ใครจะหลุดไปบอลโลก!เทียบผลงาน เทรนต์-ทริปเปียร์

Football Sponsored
Football Sponsored

เปรียบเทียบผลงานในซีซั่นนี้ระหว่าง เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ กับ คีแรน ทริปเปียร์ หลัง แกเร็ธ เซาธ์เกต ยกให้ดาวเตะ นิวคาสเซิ่ล มีคุณภาพโดยรวมเหนือกว่า

เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ แบ็กขวา ลิเวอร์พูล ส่อแววที่จะอดติดทีมชาติอังกฤษ ไปลุยศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคมนี้

“สิงโตคำราม” มีตัวเลือกในตำแหน่งแบ็กขวาหลายรายทั้ง รีซ เจมส์, ไคล์ วอล์คเกอร์, คีแรน ทริปเปียร์ และ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ซึ่งในนัดล่าสุดที่เสมอ เยอรมนี 3-3 ถึงขั้นไม่มีชื่อเป็นตัวสำรองเลย

แกเร็ธ เซาธ์เกต กุนซือทีมชาติอังกฤษ บอกเองเลยว่า ตอนนี้ตนยกให้ ทริปเปียร์ มีคุณภาพโดยรวมเจ๋งกว่า อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ส่งผลให้หลายฝ่ายมองว่า ดาวเตะ “หงส์แดง” คงไม่มีชื่อไปเล่นบอลโลกแน่

หากเปรียบเทียบผลงานของ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ที่ทำให้ ลิเวอร์พูล และ ทริปเปียร์ ที่ทำให้ นิวคาสเซิ่ล ในฤดูกาล 2022/23 ออกมาเป็นดังนี้

เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์

เกม: 11

ประตู: 1 

คลีนชีต: 2

เสียประตู: 12 

เสียประตูเฉลี่ยต่อเกม: 1.09

นาทีเฉลี่ยต่อเสียประตู: 60 

ผ่านบอลสำเร็จ: 74%

ผ่านบอลสำคัญเฉลี่ยต่อเกม: 2.47

โอกาสยิงเฉลี่ยต่อเกม: 1.00

นาทีเฉลี่ยต่อประตู: 725

บล็อก: 1

แย่งบอลกลับคืน: 9

ชนะดวลลูกกลางอากาศ: 9

เข้าสกัด: 23

เคลียร์บอลเฉลี่ยต่อเกม: 0.8

ตัดบอลเฉลี่ยต่อเกม: 1.0

ใบเหลือง: 1

คีแรน ทริปเปียร์

เกม: 13

ประตู: 1 

คลีนชีต: 4

เสียประตู: 8

เสียประตูเฉลี่ยต่อเกม: 0.62

นาทีเฉลี่ยต่อเสียประตู: 101

ผ่านบอลสำเร็จ: 74%

ผ่านบอลสำคัญเฉลี่ยต่อเกม: 0.77

โอกาสยิงเฉลี่ยต่อเกม: 1.00

นาทีเฉลี่ยต่อประตู: 810

บล็อก: 7

แย่งบอลกลับคืน: 8

ชนะดวลลูกกลางอากาศ:24

เข้าสกัด: 25

เคลียร์บอลเฉลี่ยต่อเกม: 2.3

ตัดบอลเฉลี่ยต่อเกม: 1.5

ใบเหลือง: 2

ที่มาของภาพ : ฟุตบอล

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.