'ฟีฟ่า-กาตาร์' จ่อห้ามกัปตันทีมใส่ปลอกแขน 'วันเลิฟ' ลงเตะฟุตบอลโลก 2022
‘ฟีฟ่า-กาตาร์’ จ่อห้ามกัปตันทีมใส่ปลอกแขน ‘วันเลิฟ’ ลงเตะฟุตบอลโลก 2022
“เดลี่เมล” รายงานว่า สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) จะไม่อนุญาตให้กัปตันทีมทั้ง 32 ชาติ สวมปลอกแขนหัวใจสีรุ้ง “วันเลิฟ” ที่แสดงถึงความเท่าเทียมทางเพศ และการต่อต้านการเหยียดในทุกรูปแบบ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคมนี้ เนื่องจากการรักร่วมเพศเป็นเรื่องต้องห้ามตามกฎหมายของกาตาร์ อย่างไรก็ตามฟีฟ่าและกาตาร์จะมีการหารือกันอีกครั้งถึงเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อให้ได้ความชัดเจนในเรื่องนี้
ถึงแม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนเรื่องปลอกแขนที่มีสัญลักษณ์วันเลิฟในฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย แต่ในฟุตบอลเนชั่นส์ลีก ที่กำลังฟาดแข้งในช่วงนี้ กัปตันหลายชาติได้ใส่ปลอกแขนนี้ลงสนาม ทั้งอังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, เดนมาร์ก, สวีเดน, เยอรมนี
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.