Football Sponsored

“กรธวัช”เคลียร์ราวครอสคันทรีรั้งที่38 ขี่ม้าอีเว้นติ้งชิงแชมป์โลก

Football Sponsored
Football Sponsored

“นัท” กรธวัช สำราญ จ๊อกกี้หนุ่มไทย ดีกรีเหรียญทองแดงทีมอีเว้นติ้งอชก. 18 และอันดับ 15 ทีมอีเว้นติ้งโอลิมปิก 2020 ทำคะแนนอยู่อันดับที่ 38 หลังรวมคะแนนเสีย 2 วัน มีแต้มเสีย 45.9 คะแแนน ในการแข่งขันขี่ม้าอีเว้นติ้งชิงแชมป์โลก รายการ “FEI World Championships Pratoni – Roma 2022” ระหว่างวันที่ 15-19 ก.ย. 2565 ที่ประเทศอิตาลี

การแข่งขันขี่ม้าอีเว้นติ้งชิงแชมป์โลก รายการ “FEI World Championships Pratoni – Roma 2022” ระหว่างวันที่ 15-19 ก.ย. 65  ประเทศอิตาลี โดยมีนักกีฬาผ่านควอลิฟายเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 90 คนจาก 24 ประเทศและมีชาติในเอเชีย 4 ประเทศ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย และไทย และนักกีฬาไทยที่สร้างประวัติศาสตร์คอลิฟายคว้าตั๋วเข้าร่วมชิงชัยในรายการนี้ได้เป็นครั้งแรกคือ “นัท” กรธวัช สำราญ ดีกรีเหรียญทองแดงทีมอีเว้นติ้ง อชก. 18 และอันดับ 15 ทีมอีเว้นติ้งโอลิมปิก 2020 “โตเกียวเกมส์”

โดยการแข่งขันครั้งนี้ “นัท” ควอลิฟายผ่านพร้อมกับอาชาคู่ใจ Uster de Chanay ลงแข่งขันอีเว้นต์แรก ศิลปะการบังคับม้า และทำคะแนนได้ 68.09 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นคะแนนเสีย 31.9 คะแนน หลังจากจบการแข่งขันอีเว้นต์แรกนักขี่ม้าไทยรั้งอันดับที่ 45 จากนักกีฬาทั้งหมด 90 คน และนักกีฬาจากเอเชียที่ทคะแนนดีที่สุดคือ คาซูทะ โตโมโตะ มือเก๋า มีคะแนนเสีย 25.9 คะแนน รั้งอันดับที่ 11

ส่วนอีเว้นต์ที่ 2 เป็นการแข่งขัน ครอสคันทรี เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นอีเว้นต์ไฮไลต์ของ ของการแข่งขันอีเว้นติ้ง  เพราะเครื่องทุกเครื่องที่วางอยู่ในสนามเป็นเครื่องตายทั้งหมด คือเครื่องกระโดดที่เตะแล้วจะไม่หล่น

สำหรับการแข่งขันอีเว้นต์นี้ จะมีเวลาให้นักกีฬาแต่ละ 9.50 นาที และ “นัท” กับอาชาคู่ใจยังโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดไม่มีแต้มเสียจากการกระโดด ใช้เวลา 10.25 นาที ส่งผลให้ “นัท” มีแต้มเสียจากการใช้เวลาเกิน 14 คะแนน  รวมคะแนนเสีย 2 วัน นักกีฬาขี่ม้าไทยมีแต้มเสีย 45.9 คะแแนน รั้งอันดับที่ 38 และหลังจบการแข่งขันครอสคันทรีมีนักกีฬาเหลือแข่งขันอีเว้นต์สุดท้าย 72 คนจาก 90 คน ซึ่งอีเว้นต์สุดท้ายจะแข่งประเภทกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ในวันที่ 18  ก.ย. 65

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.