Football Sponsored

“นิมิตร” ลูกเด้งวัย 13 พ่ายหวิวคว้ารองแชมป์ยช.เก็บคะแนนโลก – Siamsport

Football Sponsored
Football Sponsored

“ค็อปเตอร์” นิมิตร สร้อยพวง ลูกเด้งหนุ่มน้อยไทย ต้านความแข็งแกร่งของ พาร์ฮาม โกเลสตานี จากอิหร่าน ไม่ไหว พ่ายไป 3-2 เกม คว้าตำแหน่งรองแชมป์ประเภทชายเดี่ยวอายุไม่เกิน 13 ปีไปครอง ในศึกเทเบิลเทนนิสเยาวชน เก็บคะแนนสะสมโลก รายการ​ “เทเบิลเทนนิส​ ดับเบิลยูทีที ยูธ คอนเทนเดอร์ อัมมาน” ที่กรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน

การแข่งขันเทเบิลเทนนิสเยาวชน เก็บคะแนนสะสมโลก รายการ​ “เทเบิลเทนนิส​ ดับเบิลยูทีที ยูธ คอนเทนเดอร์ อัมมาน” ที่กรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน ระหว่างวันที่​ 22-28 ส.ค.65 โดยสมาคมกีฬาเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทยทำการส่งนักกีฬาตัวแทนเยาวชนทีมชาติเดินทางไปเข้าร่วมชิงชัยทั้งสิ้น 9 คน แบ่งเป็น ชาย​ 4 คน ประกอบด้วย​ “เนม” ณภัทร ธรรมาธิคม​, “โอปอ” สิทธิศักดิ์ นุชชาติ,​ “มิกซ์” ภูริพงษ์ แซ่ลี้, “ค็อปเตอร์” นิมิตร สร้อยพวง, หญิง​ 5 คน ประกอบด้วย​ “การ์ตูน” วรรณวิสาข์ เอื้อวิริยะโยธิน, “ผิง” วิรากานต์​ ทายะพิทักษ์, “ปิงปอง” ปัณฑิตา ภิญโญไพศาล, “พลอย” กุลภัสสร์ วิจิตรวิริยะกุล และ “เฟิร์น” เขมิสรา ดีรุจิเจริญ

เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นการชิงชัยในวันสุดท้าย ผลปรากฎว่ามีนักกีฬาไทยที่สามารถทะลุเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในประเภทเดี่ยวได้เพียงคนเดียวคือ “ค็อปเตอร์” นิมิตร สร้อยพวง ลูกเด้งหนุ่มน้อย

ในประเภทชายเดี่ยวอายุไม่เกิน 13 ปี​ ซึ่งนักตบเจ้าหนูไทยผ่านเข้าชิงปะทะกับ พาร์ฮาม โกเลสตานี คู่แข่งจากประเทศอิหร่าน ซึ่งรูปเกมเป็นไปอย่างสูสี เสมอกัน 2-2 เกม ต้องตัดสินกันในเกมที่ 5 เกมสุดท้าย แต่

เป็นนักกีฬาจากอิหร่านทำได้ดีกว่า​ เอาชนะ​ นิมิตร สร้อยพวง ไป 11-8 ผลรวม ชนะ 3-2 เกม ทำให้​ นิมิตร ได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์มาครองอย่างน่าเสียดาย และเป็นผลงานที่ดีที่สุดของนักกีฬาลูกเด้งไทยทุกคนในรายการครั้งนี้

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.