Football Sponsored

เปิดสถิติหนูเทรนต์ควรหลุดทีมชาติอังกฤษไหม?

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิดสถิติของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ แบ็กขวา ลิเวอร์พูล ในฤดูกาลนี้ หลังเจ้าตัวเพิ่งหลุดจากทีมชาติอังกฤษ ชุดคัดบอลโลก

     แกเร็ธ เซาธ์เกต ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ ประกาศรายชื่อนักเตะชุดทำศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนยุโรป กับ ซาน มารีโน วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม, แอลเบเนีย วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. และ โปแลนด์ วันพุธที่ 31 มี.ค.นี้ ออกมาแล้ว โดยที่สร้างความประหลาดใจให้กับแฟนบอลบางรายก็คือไม่มีชื่อของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ แบ็กขวา ลิเวอร์พูล

    เซาธ์เกต ให้เหตุผลว่า ฤดูกาลนี้ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ วัย 22 ปี ทำผลงานไม่ได้อยู่ในฟอร์มตามมาตรฐาน โดย 3 แบ็กขวาที่ถูกเรียกมาติดทีมชุดนี้คือ รีซ เจมส์ (เชลซี), คีแรน ทริปเปียร์ (แอตเลติโก มาดริด) และ ไคล์ วอล์คเกอร์ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้) 

    อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ลงเล่นให้ “สิงโตคำราม” ครั้งแรกในปี 2018 และจนถึงตอนนี้เจ้าตัวรับใช้ชาติไปแล้ว 12 นัด ทำได้ 1 ประตู โดยก่อนหน้านี้ทุกคนมองว่าเป็นตัวหลักในตำแหน่งแบ็กขวา แต่จากการที่หลุดจากทีมชุดนี้ ส่งผลให้อนาคตกับทัพ “ทรี ไลออนส์” เริ่มไม่แน่นอนแล้ว 

    สำหรับผลงานของ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ในฤดูกาลนี้ เมื่อเทียบกับกองหลัง พรีเมียร์ลีก คนอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้างไปดูกันได้เลย 

    เกมรับ

    อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ มีสถิติเข้าสกัดสำเร็จ 69 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ เจมส์ อยู่ที่ 66 เปอร์เซ็นต์ และ วอล์คเกอร์ อยู่ที่ 65 เปอร์เซ็นต์ 

    เกมรุก

    ซีซั่นนี้หนูเทรนต์ ทำผลงานไม่ดีในการเปิดบอล โดยทำสถิติไม่น่าจดจำด้วยการครอสบอลเสียมากสุดใน 1 เกม (18 ครั้งนัดพบ เบิร์นลี่ย์) 

    ส่วนในเรื่องการสร้างโอกาสนั้น อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ทำรวม 44 ครั้ง ขณะที่ ลุค ชอว์ แบ็กซ้าย แมนฯ ยูไนเต็ด สร้างโอกาสมากสุด 52 ครั้ง ด้าน แอนดี้ โรเบิร์ดสัน ของ ลิเวอร์พูล 45 ครั้ง

    ขณะที่การสร้างโอกาสสำคัญมีแค่ อารอน เครสเวลล์ ของ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด กับ โรเบิร์ตสัน ที่ทำได้ 9 ครั้งเท่ากัน มากกว่า เทรนต์ (8) 

    ด้านผลงานการแอสซิสต์นั้น เทรนต์ ทำได้ 3 ครั้งในลีก (5 ครั้งรวมทุกรายการ) เท่ากับ เซร์คิโอ เรกีลอน ของ สเปอร์ส และ เอคตอร์ เบเยริน ของ อาร์เซน่อล โดยมีฟูลแบ็กแค่ 5 คนที่ทำได้มากกว่า 

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.