จับสลากแบ่งสายฟุตบอลโลก 2022 ‘กาตาร์-เอกวาดอร์’ เปิดสนาม – THE STANDARD
02.04.2022
ฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายที่ประเทศกาตาร์ในช่วงปลายปีนี้ได้ทำการจับสลากแบ่งสายเรียบร้อยแล้ว โดยมี 32 ทีมที่เข้าร่วม และมีการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มดังนี้
- กลุ่ม เอ: กาตาร์, เอกวาดอร์, เซเนกัล, เนเธอร์แลนด์
- กลุ่ม บี: อังกฤษ, อิหร่าน, สหรัฐอเมริกา, ยูเครน / สกอตแลนด์ / เวลส์
- กลุ่ม ซี: อาร์เจนตินา, ซาอุดีอาระเบีย, เม็กซิโก, โปแลนด์
- กลุ่ม ดี: ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย / สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ / เปรู, เดนมาร์ก, ตูนิเซีย
- กลุ่ม อี: สเปน, นิวซีแลนด์ / คอสตาริกา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น
- กลุ่ม เอฟ: เบลเยียม, แคนาดา, โมร็อกโก, โครเอเชีย
- กลุ่ม จี: บราซิล, เซอร์เบีย, สวิตเซอร์แลนด์, แคเมอรูน
- กลุ่ม เอช: โปรตุเกส, กานา, อุรุกวัย, เกาหลีใต้
สำหรับเกมเปิดสนามในวันที่ 21 พฤศจิกายน จะเป็นเกมระหว่างทีมชาติกาตาร์เจ้าภาพ พบกับเอกวาดอร์ จากอเมริกาใต้ ส่วนนัดชิงชนะเลิศจะมีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม
ภาพ: FIFA
READ MORE
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.