สปิริตมองโกเลีย สละสิทธิ์เกมเหย้าไปเยือนคู่แข่งแทน
koko-soccer สื่อประเทศญี่ปุ่นออกมารายงานว่า ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม เอฟ ที่ในกลุ่มมีทีมอย่าง ญี่ปุ่น,ทาจิกิสถาน,คีกีซสถาน,เมียนมา และ มองโกเลีย โดยโปรแกรมการแข่งขัน ในเดือน มี.ค.64 เกมคู่ระหว่าง มองโกเลีย พบ ญี่ปุ่น วันที่ 30 มี.ค.64 ได้รับการอนุมัติจากสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียให้ทำการแข่งขันต่อไปหลังทั้งสองทีมแสดงเจตจำนงค์และส่งแผนให้เอเอฟซีเพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินต่อไปได้ ในช่วงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
โดยสมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่นกับสมาพันธ์ฟุตบอลมองโกเลียได้มีการพูดคุยหารือกันอย่างละเอียดในสิ่งที่เกิดขึ้น มองโกเลีย ในฐานะเจ้าบ้านยอมที่จะมาเล่นในญี่ปุ่น ขณะที่ญี่ปุ่นในฐานะทีมเยือนแต่เป็นเจ้าของสถานที่ก็จัดสถานที่แข่งขันเพื่อให้เกียรติกับสปิริตที่มองโกเลียแสดงออกร่วมกัน ด้วยการจัดการแข่งขันที่สนาม ฟุกุดะ อิเลคโทรนิค อารีนา ในจังหวัดชิบะ เพื่อทำให้โปรแกรมการแข่งขันดำเนินได้ต่อไป โดยรูปแบบการแข่งขันจะเล่นแบบปิดห้ามแฟนบอลเข้าสนามแข่งขัน แต่จะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องฟูจิทีวี
สำหรับสถานการณ์ ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม เอฟ ญี่ปุ่น 4 นัด มี 12 แต้ม,คีกีซสถาน 5 นัด มี 7แต้ม,ทาจิกิสถาน 5 นัด มี 7 แต้ม ,เมียนมา 5 นัด มี 6 แต้ม และ มองโกเลีย 5 นัด มี 3 แต้ม ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่น ลงเล่นในฐานะเจ้าบ้านพบ มองโกเลีย 10 ต.ค.62 ที่สนามไซตะมะ สเตเดี้ยม ญี่ปุ่นเอาชนะไปได้ 6-0
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.