Football Sponsored

ชี้ฟุตบอลนัดชิงยูโร 2020 ที่เป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ – Thai News Agency

Football Sponsored
Football Sponsored

ลอนดอน 21 ส.ค. – การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2020 นัดชิงชนะเลิศระหว่างอังกฤษกับอิตาลีที่สนามเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นกิจกรรมที่เป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อไวรัสในสนามและรอบ ๆ สนามเวมบลีย์จากวันนั้น

กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษกล่าวว่า มีประชาชน 2,295 ราย ที่ติดเชื้อและอีก 3,404 รายที่น่าจะได้รับเชื้อมาจากการแข่งขันเมื่อวันทีร่ 11 กรกฎาคม ในขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ ของอังกฤษรายงานว่า ฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศยูโร เป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ การแข่งขันในวันนั้นมีผู้ชมประมาณ 67,000 คนในสนาม และเป็นฟุตบอลระดับนานาชาตินัดชิงชนะเลิศรายการแรกของอังกฤษนับตั้งแต่อังกฤษเป็นเจ้าภาพและคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกเมื่อปี 1966 เจนิเฟอร์ สมิธ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ กล่าวในแถลงการณ์ว่า ยูโร 2020 เป็นการแสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสสามารถติดต่อกันได้ง่ายแค่ไหน เมื่อมีการใกล้ติดติดต่อกันและเป็นบทเรียนในขณะที่อังกฤษพบยามจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติอย่างระมัดระวังต่อไป อย่างไรก็ตาม กิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นการทดสอลในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า มีการพบผู้ที่มีผลการตรวจไวรัสเป็นบวกน้อยมาก และอยู่ในระดับไม่เกินมาตรฐานเฉลี่ยที่กำหนดไว้ในอังกฤษ อย่างเช่น บริติช ฟอมูล่าวัน กรังปรีซ์ ที่สนามซิลเวอร์สโตน เมื่อเดือนกรกฎาคม มีผู้ชม 350,000 คนในช่วงเวลา 3 วัน แต่พบผู้ติดเชื้อ 585 ราย ส่วนเทนนิสวิมเบิลดัน ที่จัด 2 สัปดาห์ และมีผู้ชมประมาณ 300,000 คน พบผู้ติดเชื้อ 881 ราย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.