Football Sponsored

แกร์ด มุลเลอร์ ตำนานกองหน้าเยอรมันเสียชีวิต – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

แกร์ด มุลเลอร์ ตำนานกองหน้าของบาเยิร์น มิวนิคและทีมชาติเยอรมัน เสียชีวิตลงแล้วในวันนี้ด้วยวัย 75 ปี

เจ้าของฉายา “แดร์ บอมเบอร์” (เจ้าลูกระเบิด) เป็นเจ้าของสถิติผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของทั้งบาเยิร์น มิวนิค 566 ประตู 607 เกม, ผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของบุนเดสลีกา 365 ประตู 427 เกม และผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของทีมชาติเยอรมัน 68 ประตู 62 เกม

เขายังเป็นผู้ยิงประตูชัยพาทีมชาติเยอรมันตะวันตก (ปัจจุบันคือเยอรมัน) เอาชนะเนเธอร์แลนด์ในรอบชิงชนะเลิศ 2-1 คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1974 รวมถึงยังยิงสองประตูพาทีมชนะสหภาพโซเวียตในรอบชิงชนะเลิศ 3-0 คว้าแชมป์ยูโร 1972

Editor Picks

  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • ยอดดาวยิง! ใครคือผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก?
  • IN NUMBERS : ลิโอเนล เมสซี ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
  • ใครคุ้มกว่า? ท็อป 18 ดีลสลับขั้วตลาดนักเตะยุโรป

นอกจากนี้ ความสำเร็จส่วนตัวในฐานะยอดดาวยิงก็ยังมีมากมาย ทั้งการเป็นดาวซัลโวบุนเดสลีกาถึง 7 ครั้ง, ดาวซัลโวฟุตบอลโลก 1970, ดาวซัลโวยูโร 1972 รวมถึงยังเคยคว้าบัลลงดอร์เมื่อปี 1970 อีกด้วย

ทว่าในปี 2015 แกร์ด มุลเลอร์ ล้มป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โดยที่มีภรรยาและลูกสาวคอยดูแลมาตลอด กระทั่งจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.