Football Sponsored

โปรแกรมแข่งขันกีฬา “โอลิมปิก 2020” ประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิดโปรแกรมการแข่งขัน “โอลิมปิก 2020” ประจำวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ โดยในวันนี้มีนักกีฬาไทยลงทำการแข่งขันหลายราย โดยเฉพาะ “พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ”

วันที่ 24 ก.ค. 64 เปิดโปรแกรม “โอลิมปิก 2020” หรือ “โตเกียวเกมส์” ประจำวันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคมนี้ ซึ่งมีนักกีฬาหลายรายลงทำการแข่งขัน โดยเฉพาะ “น้องเทนนิส” พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ จอมเตะอันดับ 1 ของโลก และเจ้าของเหรียญทองแดง โอลิมปิก 2016 ถูกจัดให้อยู่สายบน โดยรอบ 16 คน ยืนรอพบผู้ชนะระหว่างอิสราเอล หรือ เปอร์โตริโก้ และหากผ่านได้ น่าจะเข้าไปเจอกับนักกีฬาจากเวียดนาม ในรอบ 8 คน ซึ่งตามชื่อชั้น “เทนนิส” มีลุ้นผ่านได้อีก โดยงานหนักของ พาณิภัค รออยู่ในรอบตัดเชือก ที่จะพบกับ ซิม แจ ยอง แชมป์โลกรุ่น 46 กก. ของเกาหลีใต้ ที่ขยับขึ้นมาเล่นในรุ่น 49 กก. อย่างไรก็ตามสถิติที่พบกันมา 2 ครั้ง “เทนนิส” เอาชนะได้ทั้ง 2 ครั้ง

ขณะที่ “จูเนียร์” รามณรงค์ ปัจจุบันเป็นมือ 17 ของโลก มีคิวชิงชัยในรุ่น 58 กก.ชาย ไม่ได้รับการจัดให้เป็นมือวาง และถือเป็นรองคู่แข่งแทบทุกคนในรุ่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่ “จูเนียร์” อาจจะสร้างเซอร์ไพรส์เหมือนที่ เทวินทร์ หาญปราบ เคยทำได้ในโอลิมปิกเกมส์ 2016 ที่ทะลุไปคว้าเหรียญเงินในรุ่น 58 กก.ชายได้เช่นกัน โดยรอบ 16 คนสุดท้าย “จูเนียร์” จะถูกจับให้ดวลกับคาลิล ซาฟวาน มือ 9 ของโลก จากออสเตรเลีย

นอกจากนี้ก็ยังมีแบดมินตันที่มี “น้องครีม” บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ ในประเภทหญิงเดี่ยว จากนั้นมีประเภทหญิงคู่อย่าง “กิ๊ฟ” จงกลพรรณ กิติธรากุล จับคู่กับ “วิว” รวินดา ประจงใจ ตลอดจนคู่ผสม “บาส-ปอป้อ” เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ส่วน อรวรรณ พาระนัง จะลงเล่นในเทเบิลเทนนิส หญิงเดี่ยว

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.