Football Sponsored

สนามใหม่เอฟเวอร์ตันทำเมืองลิเวอร์พูลเสียสถานะแหล่งมรดกโลก – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

การทำสนามใหม่ของ เอฟเวอร์ตัน ทำให้ตอนนี้ ยูเนสโก้ มีมติถอดเมืองลิเวอร์พูลออกจากการเป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว หลังจาก “ทอฟฟี่สีน้ำเงิน” คิดที่จะสร้างสนามแห่งใหม่ตรงท่าเทียบเรือระดับประวัติศาสตร์ของเมือง

   การก่อสร้างสนามเหย้าแห่งใหม่ของ เอฟเวอร์ตัน สโมสรแกร่งแห่งเวทึ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ส่งผลให้เมืองลิเวอร์พูลโดนถอดออกจากสถานะการเป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

   “ทอฟฟี่สีน้ำเงิน” ได้เสนอแผนงานที่จะสร้างสนามเหย้าแห่งใหม่ของพวกเขาตรง แบรมลี่ย์-มัวร์ ด็อค ท่าเทียบเรืออันเลื่องชื้อของเมืองไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยสนามที่ว่าจะมีความจุ 52,888 ที่นั่ง และเตรียมที่จะเปิดใช้งานในช่วงต้นฤดูกาล 2024-25

   อย่างไรก็ตามคณะกรรมการของ ยูเนสโก้ บอกตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแล้วว่าการทอดทิ้งท่าเทียบเรือดังกล่าวจะถือเป็นการทำให้เมืองเสียจุดเด่นของเมืองไปตลอดกาล จนกระทั่งล่าสุดสมาชิกด้านแหล่งมรดกโลกของ ยูเนสโก้ ก็ลงมติถอดเมืองลิเวอร์พูลจากสถานะแหล่งมรดกโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

   แถลงการณ์ของ ยูเนสโก้ ระบุว่า “ใจกลางและท่าเทืยบเรืออันเป็นประวัติศาสตร์ของเมืองลิเวอร์พูลถูกจารึกว่าได้เป็นสักขีพยานเกี่ยวกับพัฒนาการของหนึ่งในแหล่งค้าขายที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงศตวรรษที่ 18 และศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ สถานที่ดังกล่าวยังเป็นเหมือนผู้บุกเบิกของการพัฒนาในเทคโนโลยีด้านท่าเทียบเรือในยุคปัจจุบัน, ระบบขนส่ง และระบบการจัดการท่าเรือด้วย”

   “การลบสิ่งใดๆ ก็ตามไปจากลิสต์แหล่งมรดกโลกนั้นนับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของคณะกรรมการระดับนานาชาติ รวมถึงต่อคุณค่าและพันธสัญญาระดับนานาชาติที่มีร่วมกันภายใต้อนุสัญญาคุ้มครอง  มรดกโลก”

   ทั้งนี้ สภาเมืองลิเวอร์พูลก็เหมือนจะตอบโต้ ยูเนสโก้ ด้วยการโพสต์บน ทวิตเตอร์ ว่า “ลิเวอร์พูล เมืองอันยิ่งใหญ่ที่ไม่จำเป็นต้องถูกนิยามด้วยฉายาใดๆ ทั้งนั้น” โดยเมืองลิเวอร์พูลได้รับการเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี 2004 และตอนนี้พวกเขาก็เป็นเมืองที่ 3 ที่เสียสถานะดังกล่าว นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการทำลิสต์นี้เมื่อปี 1978

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.