Football Sponsored

ลามทั่วโลก!แข้งเยอรมนีชุดอลป.วอล์คเอาต์หลังโดนเหยียดผิว – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

การเหยียดสีผิวยังไม่หมดไปจากวงการลูกหนัง ล่าสุดทำให้ทีมชาติเยอรมนี ชุดทำศึกโตเกียวเกมส์ ต้องรวมใจกันวอล์คเอาต์ในเกมลับแข้ง

    ฟุตบอลนัดอุ่นเครื่องก่อนลงเล่นในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างทีมชาติเยอรมนี กับทีมชาติฮอนดูรัส ต้องยุติการแข่งขันก่อนหมดเวลา 5 นาทีเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หลังนักเตะ “อินทรีเหล็ก” ประท้วงเดินออกจากเพราะโดนเหยียดเชื้อชาติและสีผิว

    เยอรมนี ลงอุ่นเครื่องนัดสุดท้ายก่อนลงทำศึกโตเกียวเกมส์ ที่ฟุตบอลชายจะเริ่มฟาดแข้งในวันพฤหัสบดีที่ 22 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม เกมนี้แข่งไม่จบ หลัง จอร์แดน โตรูนาริกา กองหลังวัย 23 ปีจากสโมสร แฮร์ธ่า เบอร์ลิน โดนนักเตะคู่แข่งเหยียดผิว ทำให้เพื่อนร่วมทีมพร้อมใจกันวอล์คเอาต์

    แถลงการณ์จากทัพ “อินทรีเหล็ก” ระบุว่า “เกมนี้ต้องยุติก่อนหมดเวลา 5 นาทีขณะที่เสมอกัน 1-1 นักเตะเยอรมนี เดินออกจากสนามหลัง จอร์แดน โตรูนาริกา โดนเหยียดสีผิว” 

    ในเวลานี้การเหยียดผิวนักเตะกำลังลามไปทั่วโลก โดยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มาร์คัส แรชฟอร์ด, เจดอน ซานโช่ และ บูกาโย่ ซาก้า สามผู้เล่นทีมชาติอังกฤษ ก็โดนแฟนบอลเหยียดผิวเช่นกัน หลังยิงจุดโทษไม่เข้าจนส่งผลให้ “สิงโตคำราม” แพ้ อิตาลี ในศึก ยูโร 2020 รอบชิงชนะเลิศ

    ขณะที่แฟนบอลในโลกออนไลน์ แสดงความเห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และส่งกำลังใจให้กับ โตรูนาริกา อาทิ “เลวร้าย การเหยียดผิวไม่ควรเกิดขึ้นที่ไหน หวังว่า จอร์แดน จะโอเค”, “น่าหวาดกลัวที่การเหยียดผิวยังมีต่อเนื่อง มันไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าที่ไหน”

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.