Football Sponsored

แรงงานข้ามชาติในกาตาร์เสียชีวิตกว่า 6500 คน ช่วงเตรียมจัดฟุตบอลโลก 2565

Football Sponsored
Football Sponsored

Submitted on Fri, 2021-02-26 22:47

แรงงานข้ามชาติจาก 5 ประเทศเอเชียใต้เสียชีวิตในกาตาร์มากกว่า 6,500 ราย ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังกาตาร์เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2565

เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาคเดียวกันอย่างซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศกาตาร์มักจะต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นคนที่มาจากเอเชียและส่วนหนึ่งของแอฟริกา ในกรณีของกาตาร์นั้น ประชากร 2.6 ล้านคนในปี 2560 จำนวน 2.3 ล้านคนเป็นแรงงานข้ามชาติ ขณะที่อีก 313,000 คนเป็นพลเมืองชาวกาตาร์

อย่างไรก็ตาม กาตาร์เป็นประเทศที่ถูกกล่าวหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนและละเมิดสิทธิแรงงานมานานหลายปี จากรายงานขององค์กรนานาชาติระบุถึงเรื่องที่แรงงานข้ามชาติถูกกดขี่อย่างหนัก กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริการะบุว่า แรงงานข้ามชาติในกาตาร์ต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่เทียบได้กับแรงงานทาสแบบไม่สมัครใจ มีการละเมิดสิทธิแรงงาน ทั้งการทุบตี การประทุษร้ายทางเพศ การจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง รวมถึงการไม่จ่ายเงินเดือนให้

ทั้งนี้ จากการสืบสวนของเดอะการ์เดียนระบุว่า ช่วงที่เข้าใกล้การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2565  มีแรงงานข้ามชาติเสียชีวิตแล้วมากกว่า 6,500 ราย ระหว่างปี 2554-2563 หรือเฉลี่ยแล้วมีแรงงานเสียชีวิต 12 รายต่อสัปดาห์ แรงงานเหล่านี้มาจากประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ, และศรีลังกา มีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจจะมากกว่านี้ เพราะการวิเคราะห์ครั้งนี้ไม่ได้นำตัวเลขผู้เสียชีวิตของแรงงานที่มาจากประเทศอื่นเข้ามานับรวมด้วย นอกจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้แล้ว ในกาตาร์ยังมีแรงงานข้ามชาติที่มาจากเคนยาและฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมาก

กาตาร์มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อเตรียมรับศึกฟุตบอลโลก มีทั้งสนามกีฬา 7 แห่ง สนามบินแห่งใหม่ รวมถึงการขยายโครงข่ายขนส่งมวลชนให้กว้างขวางขึ้น เนื่องจากในกาตาร์ไม่มีการแบ่งประเภทการเสียชีวิตในสถานที่ทำงาน ทำให้สื่อระบุได้กว้างๆ เพียงว่า มีผู้เสียชีวิตจากงานก่อสร้างสนามกีฬาเพียง 37 ราย ส่วนสาเหตุของการเสียชีวิตมีทั้งบาดเจ็บจากการกระทบหรือกระแทก การขาดอากาศหายใจ การแขวนคอ แต่ที่ถูกระบุไว้จำนวนมากที่สุดคือ “เสียชีวิตตามธรรมชาติ” ซึ่งมักจะมาจากการหายใจล้มเหลว โดยที่มีคำอธิบายทางการแพทย์ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศที่เลวร้าย

จากข้อมูลของรัฐบาลกาตาร์ระบุว่า ในช่วงระหว่างปี 2554-2563 มีคนงานชาวอินเดียเสียชีวิตในกาตาร์ 2,711 ราย มีชาวเนปาลเสียชีวิต 1,641 ราย ชาวบังกลาเทศเสียชีวิตหนึ่งพันรายเศษๆ ข้อมูลของสถานทูตปากีสถานในกาตาร์ระบุว่า มีชาวปากีสถานเสียชีวิต 824 ราย ในช่วงเวลาเดียวกัน

รัฐบาลกาตาร์ไม่ปฏิเสธจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตเหล่านี้ อีกทั้งยังอ้างว่า ตัวเลขการเสียชีวิตเหล่านี้เป็นไปตามสัดส่วนประชากรของแรงงานข้ามชาติ โดยที่การระบาดของโควิด-19 ไม่ได้มีบทบาทต่อการเสียชีวิตเหล่านี้อย่างมีนัยสำคัญ มีอัตราการติดเชื้อค่อนข้างต่ำในกาตาร์ และมีประชาชนเสียชีวิตจากโควิด-19 ประมาณ 250 ราย

เรียบเรียงจาก 6,500 Migrant Workers Have Died in Qatar Since It Was Named FIFA World Cup Host, The Wire, 25-02-2021

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai
ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai
LINE ไอดี = @prachatai

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

2021-02-26 22:47

2021-02-20 17:17

2021-02-07 12:07

2021-02-04 23:07

2021-01-27 20:17

2021-01-27 01:38

2021-01-26 02:27

2021-01-21 22:35

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.