Football Sponsored

รวยสุดในวงการ! สื่อเผยอาชีพหลักของ “ไคเปอร์ส” เปานัดชิงฯยูโร 2020 (ภาพ) – Sanook

Football Sponsored
Football Sponsored

เดลี เมล สื่อดังของประเทศอังกฤษรายงานว่า บียอร์น ไคเปอร์ส (Bjorn Kuipers) ผู้ตัดสินจากเนเธอร์แลนด์ที่จะลงทำหน้าที่ในนัดชิงดำยูโร 2020 วันอาทิตย์นี้ เป็นกรรมการลูกหนังที่มีฐานะร่ำรวยที่สุดในโลก

สื่อดังกล่าวระบุว่า ท่านเปาชาวดัตช์มีทรัพย์สินส่วนตัวมูลค่าราว 11.5 ล้านปอนด์ (ราว 520 ล้านบาท) เมื่อปี 2016 โดยเจ้าตัวเป็นผู้ร่วมก่อตั้งซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีชื่อว่า จัมโบ (Jumbo) ในแดนกังหันลม หลังมีดีกรีปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ ตั้งแต่สมัยหนุ่มแน่นจากมหาวิทยาลัยรัดเบาด์ ในเมืองไนจ์เมเกน

ไคเปอร์ส วัย 48 ปี เริ่มต้นอาชีพเชิ้ตดำลูกหนังตั้งแต่ปี 2002 ก่อนขึ้นชั้นเป็นผู้ตัดสินระดับแถวหน้าของยูฟาตั้งแต่ปี 2009 โดยผ่านการลงตัดสินในฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย มาแล้ว 2 สมัย และศึกยูโร รอบสุดท้ายอีก 3 สมัย ซึ่งแรงบันดาลใจในอาชีพนี้ของเจ้าตัวคือคุณพ่อ ที่เคยเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลในระดับกึ่งอาชีพนั่นเอง

สำหรับ นัดชิงชนะเลิศยูโร 2020 ระหว่าง ทีมชาติอังกฤษ พบ ทีมชาติอิตาลี นี้จะถือเป็นอีกเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของไคเปอร์ส หลังเคยตัดสินนัดชิงชนะเลิศเกมระดับสโมสรในถ้วย ยูฟา แชมเปียนส์ ลีก (2017) และ ยูฟา ยูโรปา ลีก (2013, 2018) มาแล้ว

ส่วนในศึกยูโรครั้งนี้ ไคเปอร์สลงทำหน้าที่ไปแล้ว 3 นัด โดยแบ่งเป็นรอบแบ่งกลุ่ม 2 นัด และรอบ 8 ทีมสุดท้ายอีก 1 นัด ซึ่งในเกมนัดชิงชนะเลิศนี้ ไคเปอร์สจะได้ทำหน้าที่ร่วมกับเพื่อนร่วมชาติ ซานเดอร์ ฟาน โรเกล และ เออร์วิน เซนสตรา ในฐานะผู้กำกับเส้น โดยมี คาร์ลอส เดล เซร์โร ชาวสเปนเป็นผู้ตัดสินที่ 4

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.