Football Sponsored

ใครจะชูแชมป์?เผยสถิติอังกฤษดวลอิตาลีรายการเมเจอร์ไม่ค่อยสู้ดี – TNN24

Football Sponsored
Football Sponsored

สาวก”สิงโตคำราม” อังกฤษ อาจต้องลุ้นกันเหนื่อยกับการล่าแชมป์ยูโร 2020 หลังสถิติที่ผ่านมาเจออิตาลีในทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์ไม่ค่อยดีเท่าไหร่

อังกฤษทะลุเข้าสู่รอบชิงรายการเมเจอร์เป็นสมัยแรกในรอบ 55 ปี นับตั้งแต่ที่พวกเขาคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966หลังเชือดเดนมาร์กในช่วงต่อเวลา ขณะที่ อิตาลีดวลจุโทษล้มสเปนฝ่านเข้ามาได้แบบลุ้นระทึกเมื่อมองจากผลงานตลอดทัวร์นาเมนต์ถือว่าเป็นคู่ชิงที่สมศักดิ์ศรีเมื่อต่างยังไม่พลาดท่าปราชัยให้ใคร

นัดชิงชนะเลิศที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคมนนี้ “สิงโตคำราม” อาจจะดูได้เปรียบเล็กน้อยที่ได้เล่นในสนามเวมบลีย์ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูผลงานเก่าๆที่เจอกันบอกเลยว่าไม่ง่ายและถึงขึ้นเหนื่อยสาหัส

สถิติการเจอกันที่ผ่ามา อังกฤษ ชนะแค่ 8 จาก 27 แมตช์ขณะที่ อิตาลี เก็บชัยได้ถึง 11 แมตช์ โดยทัพ “สิงโตคำราม” มีสถิติไม่ดีในการพบ “อัซซูรี่” ศึกฟุตบอลโลก และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

โดยทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์ที่เคยเจอกันมา อังกฤษ ไม่เคยสะกดคำว่าชนะได้เลย

สรุปผลงานการพบกันทั้งหมดทุกรายการ

– อังกฤษ ชนะ 8 เกม

– อิตาลี ชนะ 11 เกม

– เสมอ 8 เกม

สรุปผลงานการพบกันในทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลโลก และ ยูโร

1980 – อิตาลี 1-0 อังกฤษ (ยูโร รอบแบ่งกลุ่ม)

1990 – อังกฤษ 1-2 อิตาลี (ฟุตบอลโลก ชิงอันดับ 3)

2012 – อังกฤษ 0-0 อิตาลี / แพ้จุดโทษ 2-4 (ยูโร รอบก่อนรองชนะเลิศ)

2014 – อิตาลี 2-1 อังกฤษ (ฟุตบอลโลก รอบแบ่งกลุ่ม)

ผลงาน 5 แมตช์หลังสุดที่พบกัน

ปี 2018 อังกฤษ 1-1 อิตาลี (อุ่นเครื่องฉ

ปี 2015 อิตาลี 1-1 อังกฤษ (อุ่นเครื่อง)

ปี 2014 อังกฤษ 1-2 อิตาลี (ฟุตบอลโลก)

ปี 2012 อังกฤษ 2-1 อิตาลี (อุ่นเครื่อง)

ปี 2012 อังกฤษ 0-0 อิตาลี / อิตาลี ชนะจุดโทษ 4-2 (ฟุตบอลยูโร)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.