ถึงเวลาแล้ว “โครส” อำลาทีมชาติเยอรมนี หลังจบศึกยูโร 2020 – ไทยรัฐ
โทนี โครส คือหนึ่งในคีย์แมนของทัพอินทรีเหล็ก ที่ลงสนามเป็นตัวจริงทุกนัดในศึกยูโร 2020 ที่ผ่านมา แต่กลับไม่สามารถพาทีมไปถึงฝั่งฝัน ด้วยการคว้าแชมป์ได้ ต้องหยุดเส้นทางเพียงแค่รอบน็อกเอาต์เท่านั้น หลังบุกไปแพ้ทีมชาติอังกฤษ 0-2 ที่เวมบลีย์
กระทั่งล่าสุด มิดฟิลด์วัย 31 ปีจากเรอัล มาดริด ได้แถลงการณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย ยืนยันการอำลาทีมชาติอย่างเป็นทางการ ฝากสถิติเอาไว้ที่ 106 นัด จากการรับใช้ชาติทั้งสิ้น 11 ปี
ในแถลงการณ์ โครส ระบุว่า รู้สึกเสียดายที่ไม่สามารถบันทึกสถิติการรับใช้ชาติเอาไว้ที่ 109 นัด (หลังจบนัดชิงยูโร) แต่การตัดสินใจอำลาทีมชาติหลังจบทัวร์นาเมนต์นี้ คือสิ่งที่คิดเอาไว้นานแล้ว พร้อมทั้งรู้ดีกว่าตัวเองคงไม่พร้อม สำหรับการทำศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายที่กาตาร์
หลังจากนี้ โครส จะหันไปโฟกัสที่การรับใช้ต้นสังกัดอย่าง เรอัล มาดริด และใช้เวลากับครอบครัว เพื่อดูแลภรรยาและลูกน้อยอีก 3 คนอย่างเต็มที่ รวมถึงกล่าวขอบคุณแฟนบอล ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา อีกทั้งยังไม่ลืมขอบคุณ โยอาคิม เลิฟ ที่ให้ความเชื่อมั่นในฝีเท้า กระทั่งมีส่วนช่วยทีมชาติเยอรมนี ก้าวขึ้นไปคว้าแชมป์โลกเมื่อปี 2014
ทั้งนี้ โทนี โครส ประเดิมสนามในนามทีมชาติเยอรมนีครั้งแรก ในเกมนัดกระชับมิตรกับ อาร์เจนตินา เมื่อเดือนมีนาคมปี 2010 และทำสถิติติดทีมชาติมากที่สุดเป็นอันดับ 7 ร่วมกับ โธมัส มุลเลอร์ ที่จำนวน 106 นัด.
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.