เจาะสถิติหลังเกม “ทีมชาติไทย” แพ้ “มาเลเซีย” ปิดท้ายคัดบอลโลก 2022 – ไทยรัฐ
เจาะสถิติหลังเกมที่ทาง “ทีมชาติไทย” พ่ายแพ้ให้กับ “ทีมชาติมาเลเซีย” ด้วยสกอร์ 0-1 ในศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก รอบสอง กลุ่มดี นัดที่ 8 ที่เพิ่งจบลงไป
วันที่ 16 มิ.ย. 64 ความเคลื่อนไหวหลังเกมที่ทาง “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ภายใต้การนำทีมของ อากิระ นิชิโนะ หัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่น พ่ายแพ้ให้กับ “แข้งเสือเหลือง” ทีมชาติมาเลเซีย ที่มี ตัน เชง โฮ กุมบังเหียน 0-1 ในศึก ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่มจี นัดที่ 8 หรือนัดสุดท้ายของรอบนี้
ทั้งนี้เกมดังกล่าวประตูโทนประตูเดียวของเกมเกิดขึ้นในนาทีที่ 52 เมื่อทีมชาติมาเลเซีย มาได้จุดโทษ จากจังหวะที่ เออร์เนสโต ภูมิภา ไปทำฟาวล์ ซาฟาวี ราชิด ก่อนจะลุกมาสังหารเอง บอลพุ่งผ่าน ฉัตรชัย บุตรพรม เข้าประตูไปแบบหวุดหวิด ทำให้ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย จบรองบ๊วยของกลุ่ม มีแค่ 9 คะแนน จากการลงสนาม 8 นัด ส่วน “แข้งเสือเหลือง” ทีมชาติมาเลเซีย คว้าอันดับ 3 ด้วยการมี 12 คะแนน จากการลงสนาม 8 นัดเท่ากัน
สถิติหลังเกม ทีมชาติไทย 0-1 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 18 โอกาสทำประตู 14 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 1 ยิงเข้ากรอบ 6 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 58% ครองบอล 42% ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 363 ผ่านบอล 269 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 82% ผ่านบอลสำเร็จ 75% ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 11 ฟาวล์ 11 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 2 ใบเหลือง 3 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 7 ล้ำหน้า 2 ทีมชาติมาเลเซีย
ทีมชาติไทย 9 เตะมุม 5 ทีมชาติมาเลเซีย
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.