Football Sponsored

เปิดสถิติที่ “อิตาลี” มีลุ้นทำลาย หลังชนะ เวลส์ ลอยลำยูโร 2020 ไร้พ่าย 30 นัด ไทยรัฐ – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

ทีมชาติอิตาลีของกุนซือ โรแบร์โต มันชินี มีโอกาสทำลาย 4 สถิติอันยิ่งใหญ่ หลังชนะ เวลส์ ส่งท้ายรอบแบ่งกลุ่ม ผงาดเข้ารอบน็อกเอาต์ ศึกยูโร 2020

วันที่ 21 มิ.ย. 64 ควันหลงฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป “ยูโร 2020” รอบแบ่งกลุ่ม นัดสุดท้าย กลุ่มเอ เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่ง อิตาลี ที่ส่งทีมชุดสองลงสนาม ยังเอาชนะ เวลส์ ที่เหลือ 10 คนได้สำเร็จ 1-0 ทำให้ “อัซซูรี” เก็บ 9 คะแนนเต็มจาก 3 นัด เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะแชมป์กลุ่ม ส่วน “มังกรแดง” ก็เข้ารอบไปพร้อมกันด้วยการเป็นรองแชมป์กลุ่ม มี 4 แต้มเท่ากับ สวิตเซอร์แลนด์ ที่ชนะ ตุรกี 3-1 แต่ประตูได้-เสีย เวลส์ ดีกว่า

ด้าน อิตาลี ภายใต้การคุมทีมของ โรแบร์โต มันชินี เพิ่มสถิติไม่แพ้ใครยาวนานเกือบ 3 ปี เป็นนัดที่ 30 ติดต่อกันได้สำเร็จ เทียบเท่าสถิติในยุคของ วิตตอริโอ ปอซโซ ตำนานกุนซือชุดแชมป์ฟุตบอลโลก 2 สมัย ปี 1934 และ 1938 ได้สำเร็จ โดย ปอซโซ เคยทำไว้ในระหว่างปี 1935-1939 

ทั้งนี้ “อัซซูรี” ยังไม่เสียท่าให้ทีมไหนนับตั้งแต่แพ้ โปรตุเกส 0-1 ในศึกยูฟ่า เนชันส์ ลีก เมื่อวันที่ 10 กันยายน ปี 2018 ก่อนเอาชนะไปถึง 25 นัด เสมอ 5 เกม โดยคว้าชัยได้ตลอด 11 นัดหลังสุด พร้อมกับยิงคู่แข่งไปถึง 32 ลูก และไม่เสียประตูมานานกว่า 1,000 นาทีแล้ว

นอกจากนี้ อิตาลี ยังมีลุ้นทำลายอีก 3 สถิติสำคัญในศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ดังนี้

ชนะติดต่อกันมากที่สุดในยูโร (รวมรอบคัดเลือก-รอบสุดท้าย)

14 นัด – เยอรมนี (3 กันยายน 2010 – 22 มิถุนายน 2012)

13 นัด- อิตาลี (23 มีนาคม 2019 – ปัจจุบัน)

12 นัด – เบลเยียม (21 มีนาคม 2019 – ปัจจุบัน), ฝรั่งเศส (25 มิถุนายน 2000 – 13 มิถุนายน 2004)

ชนะติดต่อกันมากที่สุดในยูโร รอบสุดท้าย

5 นัด – ฝรั่งเศส (12 มิถุนายน 1984 – 27 มิถุนายน 1984)

5 นัด – เนเธอร์แลนด์ (15 มิถุนายน 1988 – 12 มิถุนายน 1992)

5 นัด – สาธารณรัฐเช็ก (21 มิถุนายน 2000 – 27 มิถุนายน 2004)

ชนะมากที่สุดใน 1 ทัวร์นาเมนต์

5 นัด – ฝรั่งเศส (ปี 1984 จาก 5 นัด)

5 นัด – ฝรั่งเศส (ปี 2000 จาก 6 นัด)

5 นัด – สเปน (ปี 2008 จาก 6 นัด)

5 นัด – ฝรั่งเศส (ปี 2016 จาก 7 นัด)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.