อดีต ผจก.ทีมชาติไทย ย้ำชัด 2 เหตุผลหลักควรเปลี่ยนใช้โค้ชไทยคุมทีม – ไทยรัฐ
อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย ออกมาย้ำชัดถึงเหตุผลที่ทัพช้างศึกควรเปลี่ยนมาใช้โค้ชชาวไทยคุมทีมมากกว่าเพราะมองว่านักเตะให้ความเคารพและประหยัดเงินได้เพียบ
วันที่ 10 มิ.ย. 64 เศรษฐา ทวีสิน อดีตผู้จัดการ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ออกมาย้ำชัดถึงเหตุผลที่ทัพช้างศึกควรเปลี่ยนมาใช้โค้ชชาวไทยคุมทีมมากกว่าเพราะมองว่านักเตะให้ความเคารพและประหยัดเงินได้เพียบ
เป็นที่เข้าใจกันว่า “ช้างศึก” ทีมชาติไทย เพิ่งพ่ายต่อ ทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไปด้วยสกอร์ 1-3 ในศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 กลุ่มจี นัดที่ 7 ทำให้หมดโอกาสลุ้นเข้ารอบ 12 ทีมสุดท้ายเป็นที่แน่นอนแล้ว
ล่าสุด เศรษฐา ทวีสิน ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่า “ฟุตบอลเป็นกีฬาประจําชาติ ทีมชาติเป็นกล่องดวงใจของประชาชน ยิ่งยามยากลําบากเราหวังให้ฟุตบอลมาชโลมใจ ถ้าสู้ไม่ได้เพราะเขาเก่งกว่าก็พอรับไหว แต่นี่แพ้หรือเสมอทีมที่เราควรชนะมาหลายนัดติดต่อกัน ก็น่าเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง? นายกยังเหลือวาระอีกยาว ตอนนี้เราควรเปลี่ยนโค้ชก่อนดีไหม? ไม่สายไปทําเถอะครับ”
“พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ครับ ด้วยความเคารพใช้โค้ชไทยเถอะครับ ตะวัน (ศรีปาน) แล้วเอา รังสรรค์ (วิวัฒน์ชัยโชค) กับระ (อิสสระ ศรีทะโร) เป็นผู้ช่วยประหยัดกว่า นักเตะนับถือให้ความเคารพ เซฟเงินไปได้ปีละหลาย 10 ล้านแล้วมาจุนเจือสโมสร โค้ชไทยเข้าใจนักเตะดีกว่า ใกล้ชิดเด็กดีกว่า รู้จริง ให้เวลาเขานานๆ พัฒนาได้ ทําเถอะครับ ถามเด็กดูแล้วกันว่าเขาชอบหรือเคารพตลอดจนได้พัฒนาตัวเองบ้างไหม? เงินเดือนแพงขนาดนี้ อ้างโควิด-19 อยู่ไทยน้อย มาเกษียณมากกว่าครับไปเถอะครับ”
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.