Football Sponsored

อยู่ในใจตลอดไป “เกาหลีใต้” อุทิศประตูเกมชนะ “ศรีลังกา” ให้ “ยู ซัง ชุล” (คลิป) – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 10 มิ.ย. 64 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 กลุ่มเอช เมื่อวานนี้ เกาหลีใต้ คว้าชัย 5 นัดรวด หลังเอาชนะ ศรีลังกา 5-0 ทำให้ “โสมขาว” เก็บเพิ่มเป็น 13 คะแนน และยังไม่เสียประตูเลย โดยยิงไป 20 ลูก เป็นทีมนำของกลุ่มเหนือ เลบานอน อันดับ 2 ที่แข่งเท่ากันอยู่ 3 แต้ม

เหตุการณ์สำคัญของเกมนี้เกิดขึ้นในนาทีที่ 15 หลังจาก คิม ชิน อุค ทำประตูให้ เกาหลีใต้ ขึ้นนำ 1-0 เจ้าตัวและเพื่อนร่วมทีมก็พร้อมใจกันเดินมาที่ข้างสนาม โดยมีสตาฟฟ์โค้ชหยิบเสื้อทีมชาติที่เตรียมไว้ ซึ่งเป็นเสื้อที่มีชื่อของ “ยู ซัง ชุล” พร้อมเบอร์ 6 อันเป็นหมายเลขประจำตัวมามอบให้ ก่อนตั้งแถวพร้อมกับยืนสงบนิ่งไว้อาลัยเป็นเวลาสั้นๆ

ทั้งนี้ “ยู ซัง ชุล” คือ อดีตกองกลางทีมชาติเกาหลีใต้ ชุดคว้าอันดับ 4 ในศึกฟุตบอลโลก 2002 ที่เป็นเจ้าภาพร่วมกับ ญี่ปุ่น ซึ่ง ยู ซัง ชุล ทำได้ 1 ประตูจากลูกยิงไกลสุดสวย ในเกมแรกของรอบแบ่งกลุ่มที่เอาชนะ โปแลนด์ 2-0 ก่อนที่ “โสมขาว” จะเข้ารอบน็อกเอาต์ในฐานะแชมป์กลุ่มดี โดยเสมอ สหรัฐอเมริกา 1-1 และชนะ โปรตุเกส 1-0

จากนั้น เกาหลีใต้ ก็สร้างเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่องด้วยการเขี่ยทีมเต็งแชมป์อย่าง อิตาลี และ สเปน ในรอบ 16 ทีม และรอบ 8 ทีม ก่อนไปพ่าย เยอรมนี 0-1 ในรอบรองชนะเลิศ และแพ้ ตุรกี 2-3 ในรอบชิงอันดับ 3

สำหรับ ยู ซัง ชุล เพิ่งเสียชีวิตในวัยเพียง 49 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน.

ขอบคุณภาพจาก Facebook : 대한민국 축구 국가대표팀 – Korea Football Team

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.