Football Sponsored

ยู ซัง-ชอล ตำนานแข้งโสมขาวชุดคว้าอันดับ 4 ฟุตบอลโลกเสียชีวิต – ข่าวสด

Football Sponsored
Football Sponsored

ยู ซัง-ชอล อดีตกองกลางทีมชาติเกาหลีใต้ชุดคว้าอันดับ 4 ฟุตบอลโลก 2002 เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนในวัย 49 ปี

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

สำหรับ ยู ซัง-ชอล คือหนึ่งใน 23 ขุนพลของทัพ “โสมขาว” ที่สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้าอันดับ 4 ของฟุตบอลโลก 2002 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ญี่ปุ่น มาครอง ซึ่งในทัวร์นาเมนต์นี้เจ้าตัวสามารถยิงได้ 1 ลูกในเกมที่เอาชนะ โปแลนด์ 2-0 และเป็นเกมแรกที่ เกาหลีใต้ คว้าชัยในศึกฟุตบอลโลกด้วย

  • ‘สติลิเก้’ เรียกตัว ‘ซน ฮึง มิน’ คืนทัพโสมขาวลุยกาตาร์-อิหร่าน ศึกคัดบอลโลก
  • สเปอร์ ติดใจแข้งโสมขาว โดดร่วมวงล่า คิม มิน แจ กองหลังทีมชาติเกาหลีใต้
  • อยู่ยาว! ซน ฮึง-มิน จ่อขยายสัญญาฉบับใหม่กับ สเปอร์

ส่วนในระดับสโมสร ยู ซัง-ซอล เคยคว้าแชมป์ เค ลีก กับ อุลซาน ฮุนได 2 สมัย และแชมป์ เจ ลีก กับ โยโกฮามาเอฟ มารินอส อีก 2 สมัย ก่อนจะแขวนสตั๊ดในปี 2006 และผันตัวมาเป็นเฮดโค้ชให้กับ แดจอน ซิติเซน, อุลซาน ยูนิเวอร์ซิตี, ชุนนัม ดรากอนส์ และอินชอน ยูไนเต็ด

อย่างไรก็ตามอดีตกองกลางรายนี้ถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่ตับอ่อนระยะที่ 4 เมื่อช่วงเดือน ต.ค. 2019 ทำให้เขาต้องอำลาวงการลูกหนัง และเข้ารักษาอาการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทว่าเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา สหพันธ์ฟุตบอลเกาหลีใต้ ออกแถลงการณ์ว่า ยู ซัง-ชอล ได้เสียชีวิตลงแล้วจากโรคมะเร็งตับอ่อนด้วยวัย 49 ปี

South Korean captain Yoo Sang-Chul (R) is presented with the trophy by the president of East Asian Football Federation Shunichiro Okano. AFP PHOTO/Toru YAMANAKA (Photo by TORU YAMANAKA / AFP)

ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊ก : Korea Football Association

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.