ลูกครึ่ง-โอนสัญชาติเพียบ “มาเลเซีย” เผย 25 ผู้เล่น ลุยคัดบอลโลก 2022 – ไทยรัฐ
ทีมชาติมาเลเซีย เผยชื่อ 25 นักเตะชุดทำศึก ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง โดยมี 2 นักเตะที่ค้าแข้งในศึกไทยลีกติดทีม
ทัพลูกหนัง “เสือเหลือง” ทีมชาติมาเลเซีย ที่อยู่กลุ่มเดียวกับทีมชาติไทย ประกาศชื่อ 25 ผู้เล่นชุดทำศึก ฟุตบอลโลก 2022 โดยมีสองแนวรับที่ค้าแข้งในไทยลีก อย่าง จูเนียร์ เอลสตอลด์ กองหลัง ชลบุรี เอฟซี และ โดมินิค ตัน จากทีมโปลิศ เทโร
ขณะเดียวกัน ตัน เชง โฮ กุนซือของทีมยังได้เรียกตัวหลักรายอื่นเข้าทีม รวมถึงอดีตสองแข้งที่เคยเล่นในไทยลีก อย่าง นอร์ชาห์รูล อิดลัน กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด และโมฮามาดู ซูมาเรห์ กับโปลิศ เทโร เอฟซี
นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นที่น่าสนใจ ได้แก่ 2 ผู้เล่นโอนสัญชาติ ทั้ง ลิริดอน คลาสนิกี้ ชาวโคโซโว และ กิลเยอร์เม่ เดอเปาลา ชาวบราซิล ที่ติดทีมชาติเป็นครั้งแรก รวมถึง ลุคมาน ฮาคิม ดาวเตะวัย 18 ปี จากสโมสรคอร์ไทร์จ ในลีกเบลเยียมอีกด้วย
สำหรับทีมชาติมาเลเซีย มีโปรแกรมดังนี้ คือ
3 มิถุนายน พบ ยูเออี
11 มิถุนายน พบ เวียดนาม
15 มิถุนายน พบ ไทย
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.