Football Sponsored

เปิดสถิติ 3 แข้งไทยลงเล่นเวทีระดับโลกมากสุด – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทีมชาติไทยลงทำการแข่งขันรายการนานาชาติมากมาย ประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้างขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการและสร้างความยั่งยืน ช่วงเวลาที่ผ่านมาทีมชาติไทยผ่านเข้าไปเล่นรายการชิงแชมป์โลกมาแล้วถึง 15 ครั้ง ฟุตบอลโอลิมปิก 1956 ประเทศออสเตรเลีย ,ฟุตบอลโอลิมปิก 1968 ประเทศเม็กซิโก,ฟุตบอล เยาวชน 17 ปี ชิงแชมป์โลก 1997 ประเทศอียิปต์,ฟุตบอล เยาวชน 17 ปี ชิงแชมป์โลก 1999 ประเทศนิวซีแลนด์,ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2000 ประเทศกัวเตมาลา,ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2002 เซาเปาโล ประเทศบราซิล,ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2004 ประเทศไต้หวัน

    ฟุตบอลหญิง เยาวชน 20 ปี ชิงแชมป์โลก 2004 ประเทศไทย,ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2005 ริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล,ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2008 ประเทศบราซิล,ฟุตซอลหญิงชิงแชมป์โลก 2010 ประเทศสเปน,ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 ประเทศไทย,ฟุตบอลหญิง ชิงแชมป์โลก 2015 ประเทศแคนาดา,ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2016 ประเทศโคลัมเบีย ,ฟุตบอลหญิง ชิงแชมป์โลก 2019 ประเทศฝรั่งเศส

    แน่นอนว่าตลอดเส้นทางการต่อสู้ของทีมชาติไทยใน 15 ครั้งย่อมมีนักเตะก้าวเข้ามารับใช้ทีมชาติไทยอย่างมากมายแต่สิ่งที่น่าสนใจคือการยืนระยะต่อสู้บนเวทีระดับโลกในนามทีมชาติสร้างความภูมิใจจนเกิดเป็นตำนานให้กับวงการฟุตบอล นี่คือโฉมหน้านักเตะที่ลงเล่นในเวทีระดับโลกมากที่สุดในนามทีมชาติไทย ซึ่งเป็นความภูมิใจของทุกคนที่ก้าวขึ้นมายืนในจุดนี้  โดยเฉพาะ อรทัย ศรีมณี  แข้งสาวทีมชาติไทยที่ลงเล่นรายการระดับโลกมากที่สุด พร้อมกับมีสถิติที่น่าสนใจคือการยิงประตูให้ทีมชาติไทยทั้งฟุตบอลและฟุตซอลจนฟีฟ่าสดุดี  ขณะที่ ยุทธนา พลศักดิ์ และ อนุชา มั่นเจริญ  2 แข้งชายที่ลงเล่นมากที่สุด 4 ทัวร์นาเมนต์ก็สร้างความยอดเยี่ยมด้วยการพาทีมชาติไทยจารึกชื่อในเวทีฟุตบอลชายหาดด้วยการคว้าอันดับ 3ของโลก มาครอง

    4 สมัย

    ยุทธนา พลศักดิ์:ฟุตซอล 2000,2004,ฟุตบอลชายหาด 2002,2005

    อนุชา มั่นเจริญ:ฟุตซอล 2000,2004,2008ฟุตบอลชายหาด 2002

    อรทัย ศรีมณี:เยาวชนหญิง 20 ปี 2004,ฟุตซอล 2010,ฟุตบอลหญิง 2015,2019

    3 สมัย

    วิลาศ น้อมเจริญ: ฟุตซอล 2000,ฟุตบอลชายหาด 2002,2005

    สมพงษ์  พึ่งผูก:ฟุตซอล 2000,2004,ฟุตบอลชายหาด 2002

    อนุพงษ์  พลศักดิ์:ฟุตบอลชายหาด 2002,2005,ฟุตซอล 2004

    ภานุวัฒน์  จันทา:ฟุตซอล 2000,2004,2008

    ณรงค์ศักดิ์  คงแก้ว:ฟุตซอล 2000,2004,2008

    เศรษฐกรชัย(สมคิด) ชื่นตา:ฟุตบอลชายหาด 2002,ฟุตซอล 2004,2008

    พิกุล เขื่อนเพชร:เยาวชนหญิง 20 ปี 2004,ฟุตบอลหญิง 2015,2019

    ดวงนภา ศรีตะลา:เยาวชนหญิง 20 ปี 2004ฟุตบอลหญิง 2015,2019

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.