Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

กองทุนกีฬาฯ ไฟเขียวงบ 70 ล้าน ส่งนักกีฬาลุยกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กองทุนกีฬาฯ เดินหน้าหนุนนักกีฬาไทยตั้งแต่ระดับเยาวชน บอร์ดกองทุนฯ นำโดย “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไฟเขียวงบประมาณ 70 ล้านบาท หนุนค่าใช้จ่าย “สมาคมกีฬาจังหวัด” ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมทำศึกกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 “นครสวรรค์เกมส์” โดย นายวินัย ทองรัตน์ (ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด) กรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้พยายามผลักดันงบประมาณที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบได้ถึงมือนักกีฬา และบุคลากรของสมาคมกีฬาจังหวัด เพื่อร่วมแข่งขันในครั้งนี้ที่ถือเป็นเวทีสำคัญในการพัฒนาศักยภาพไปสู่ตัวแทนทีมชาติไทยในอนาคต

กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (NSDF) เดินหน้าพร้อมให้การสนับสนุนนักกีฬาไทย ตั้งแต่ระดับเยาวชน สู่ความเป็นเลิศ โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ที่มี “บิ๊กป้อม”
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้อนุมัติงบประมาณ 70 ล้านบาท ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการส่งนักกีฬาของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 “นครสวรรค์เกมส์” ซึ่งจะจัดขึ้นที่ จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม-3 เมษายน 2566

“ดร.หญิง” ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (NSDF) เปิดเผยว่า กองทุนฯ พร้อมให้การสนับสนุนนักกีฬาไทยให้ครอบคลุมทุกระดับ จึงได้จัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุม โดยล่าสุดกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้อนุมัติงบประมาณ 70 ล้านบาท ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการส่งนักกีฬาของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด เพื่อให้นักกีฬาเยาวชนในรากหญ้ามีความพร้อมในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ที่ จ.นครสวรรค์ เป็นการช่วยให้นักกีฬาเยาวชนมีการพัฒนาศักยภาพไปสู่ความเป็นเลิศต่อไป

ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวอีกว่า ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งนี้ ด้วยจำนวนนักกีฬาของแต่ละจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเพิ่มขึ้น และลดลง โดยฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เป็นผู้กำกับดูแล และส่งรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในส่วนของกองทุนฯ ได้เร่งดำเนินการปรับแผนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อจัดสรรงบประมาณให้นักกีฬาเยาวชน โดย นายวินัย ทองรัตน์ (ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด) กรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้พยายามผลักดันเรื่องนี้ เพื่อต้องการให้งบประมาณที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบได้ถึงมือนักกีฬา และบุคลากรของสมาคมกีฬาจังหวัด เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน “นครสวรรค์เกมส์” ในครั้งนี้

“กองทุนฯ เดินหน้าให้การสนับสนุนนักกีฬาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของนักกีฬาระดับเยาวชนที่เป็นรากฐานสำคัญในการก้าวขึ้นมาสู่นักกีฬาทีมชาติ และนักกีฬาอาชีพต่อไปในอนาคต กองทุนฯ จึงได้จัดสรรงบให้นักกีฬาเยาวชนไทยมีความพร้อมสำหรับการแข่งขันกีฬาระดับชาติ ซึ่งจะถือเป็นเวทีสำคัญของนักกีฬาเยาวชนสำหรับการพัฒนาศักยภาพของตัวเองต่อไป และจะก้าวมาเป็นกำลังสำคัญของทีมชาติไทยในอนาคต ในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติต่อไป” ดร.สุปราณี กล่าวปิดท้าย

สำหรับการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 “นครสวรรค์เกมส์” กำหนดจัดขึ้นที่ จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม-3 เมษายน 2566 โดยจัดการชิงชัยทั้งสิ้น 46 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กีฬาบังคับ 2 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา และว่ายน้ำ, กีฬาสากล 40 ชนิดกีฬา ประกอบไปด้วย กอล์ฟ, กาบัดดี้, คริกเก็ต, คาราเต้-โด, จักรยาน, เจ็ตสกี, ชักกะเย่อ, ตะกร้อ, เทควันโด, เทนนิส, เทเบิลเทนนิส, บาสเกตบอล/บาส 3×3, แบดมินตัน, ปันจักสีลัต , เปตอง, เพาะกาย, ฟันดาบสากล, ฟิกเกอร์และสปีดสเก็ดติ้ง, ฟุตบอล/ฟุตซอล, มวยไทยสมัครเล่น มวยปล้ำ, มวยสากลสมัครเล่น, ยกน้ำหนัก, ยิงปืน, ยูโด, รักบี้ฟุตบอล, เรือพาย, ลีลาศ, วอลเลย์บอล, วูซู, วู้ดบอล, สนุกเกอร์, หมากล้อม, เอ็กซ์ตรีม, ฮอกกี้, แฮนด์บอล, บริดจ์, ยูยิตสู, โรลเลอร์สกี, ซอฟท์เทนนิส, กีฬาอนุรักษ์ 1 ชนิดกีฬา ได้แก่ กระบี่กระบอง และกีฬาสาธิต 3 ชนิดกีฬา ได้แก่ โมโตครอส, อีสปอร์ต, ดาบไทย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.