Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

พรีเมียร์ลีกโมเดล! ลีกอิตาลีคลอดกฎกันท่าทีมร่วมซูเปอร์ลีก

Football Sponsored
Football Sponsored

ลีกอิตาลีเดินทางรอยพรีเมียร์ลีก ด้วยการร่างกฎห้ามสโมสรในลีก ร่วมรายการที่อยู่นอกเหนือการดูแลของยูฟาและฟีฟา

กาเบรียเล กราวินา ประธานสมาคมฟุตบอลอิตาลี ยืนยัน พวกเขาได้ร่างกฎข้อใหม่เพื่อกันท่าสโมสรในลีกไปเล่น ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ ลีก ในอนาคตแล้ว

ยูเวนตุส, เอซี มิลาน และอินเตอร์ มิลาน คือ 3 สโมสรจาก กัลโช เซเรีย อา ที่ร่วมก่อตั้งศึกซูเปอร์ลีกร่วมกับ 9 สโมสรชั้นนำในยุโรป ซึ่งล่าสุดโปรเจ็คต์นี้ก็พังลงไปเรียบร้อยแล้ว หลังมี 9 สโมสรขอถอนตัวเพราะทนต่อกระแสต่อต้านไม่ไหว

ล่าสุดลีกอิตาลีจึงร่างกฎข้อใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ด้วยการระบุว่า หากสโมสรใดตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันที่อยู่นอกเหนือการดูแลของยูฟาและฟีฟา ทีม ๆ นั้นต้องออกจากลีกไปทันที ซึ่งเหมือนกับกฎของพรีเมียร์ลีก

Editor Picks

  • ดาวซัลโวพรีเมียร์ลีก 2020-21
  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • IN NUMBERS : ลิโอเนล เมสซี ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
  • IN NUMBERS : คริสเตียโน โรนัลโด้ ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?

“ใครที่เข้าร่วมรายการที่อยู่นอกเหนือการดูแลจากฟีฟาและยูฟา ทีม ๆ นั้นต้องออกจากลีกไป” กราวินา กล่าวผ่าน SportItalia

“เรายังไม่ได้ข่าวว่าใครจะออกไปหรือไม่ออกบ้าง แต่เราจะมีกฎที่ครอบคลุมฟุตบอลทั้งประเทศ”

“ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป หากใครเข้าร่วมการแข่งขันที่ก่อตั้งกันเอง พวกเขาต้องออกไปจากลีกของเรา”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.