Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

“คล็อปป์” นัดถกเอเยนต์คว้า “อัมราบีต” ตัวตึงโมร็อคโก เสริมแดนกลาง

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เจอร์เกน คล็อปป์ กุนซือ ลิเวอร์พูล นัดหารือกับเอเยนต์ของ โซฟิอาน อัมราบัต มิดฟิลด์ โมร็อคโก เกี่ยวกับการซื้อ-ขายนักเตะ

อัมราบัต รับใช้ “สิงโตแห่งแอตลาส” ลุยศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ และเป็นกำลังสำคัญของทีม ชุดประวัติศาสตร์ ทะลุถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายครั้งแรก

กองกลางวัย 26 ปี ลงเล่นทุกนาทีของการแข่งขัน รวม 120 นาทีของรอบ 16 ทีมสุดท้าย ดวลจุดโทษชนะ สเปน วันอังคารที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) และเป็นกองกลางตัวรับคนหนึ่งที่โดดเด่นสุดประจำทัวร์นาเมนต์

“ฟุต แมร์คาโต” สื่อประเทศฝรั่งเศส รายงาน บิ๊กบอสชาวเยอรมัน ติดต่อเอเยนต์ของ อัมราบัต เพื่อดึงนักเตะมาค้าแข้งถิ่นแอนฟิลด์

ทีมย่านเมอร์ซีย์ไซด์ กำลังสำรวจตลาดหากองกลาง หลังชวด ออเรเลียง ชูอาเมนี มิดฟิลด์ ฝรั่งเศส ซึ่งย้ายไป รีล มาดริด ช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน “เดอะ เรดส์” ยังถูกยกให้เป็นตัวเต็งคว้า จู๊ด เบลลิงแฮม มิดฟิลด์อนาคตไกล โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ทว่า อเล็กซ์ อ็อกซ์เลด-แชมเบอร์เลน, เจมส์ มิลเนอร์ และ นาบี เกตา จะหมดสัญญาจบฤดูกาลนี้ ขณะที่ เคอร์ติส โจนส์ กับ ฟาบินโญ มีปัญหาความฟิต และผลงานยังไม่เข้าตา จึงต้องหาขุมกำลังแดนกลางมาเสริมมากกว่า 1 คน

อัมราบัต เล่นให้ ฟิออเรนตินา แต่รายงานข่าวเผยว่า อาจอำลาถิ่น เอ็นนิโอ ตาร์ดินี เพื่อพิสูจน์ฝีเท้าระดับ ยูฟา แชมเปียนส์ ลีก

ตามข่าวระบุ คล็อปป์ นัดพบกับเอเยนต์ของ อัมราบัต และจะเจรจาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หลังนักเตะเสร็จสิ้นภารกิจ ฟีฟา เวิลด์ คัพ

อัมราบัต ย้ายจาก คลับ บรูจจ์ แห่ง จูปิแลร์ ลีก เบลเยียม เมื่อปี 2020 และเป็นตัวหลักของ “วิโอลา” ตลอดระยะเวลา 2 ซีซันครึ่ง ปัจจุบันเหลือสัญญา 1 ปีครึ่ง เท่ากับว่า ฟิออฯ จะต้องรีบขายเพื่อนำเงินเข้าสโมสร

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.