ตำรวจอินโดฯ เผยชื่อ 'ผู้ต้องสงสัย' เหตุเหยียบกันในสนามฟุตบอล
จาการ์ตา, 7 ต.ค. (ซินหัว) — เมื่อช่วงค่ำวันพฤหัสบดี (6 ต.ค.) ลิสตีโย ซิกิต ปราโบโว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย แถลงข่าวเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องสงสัย 6 ราย กรณีเกิดเหตุเหยียบกันที่สนามกีฬากันจูรูฮัน เมืองมาลัง จังหวัดชวาตะวันออกของอินโดนีเซีย ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 131 ราย
ปราโบโวระบุว่าผู้ต้องสงสัย 3 รายเป็นตำรวจ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีความผิดเกี่ยวกับการใช้แก๊สน้ำตา เนื่องจากพวกเขาสั่งผู้ใต้บังคับบัญชาในสนามกีฬาให้ยิงแก๊สน้ำตา ทั้งที่ทราบและตระหนักดีว่าการใช้แก๊สน้ำตาระหว่างการแข่งขันฟุตบอลเป็นเรื่องต้องห้ามภายใต้กฎหมายของสหพันธฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟา (FIFA)ส่วนผู้ต้องสงสัยที่เหลืออีก 3 ราย ได้แก่ ประธานผู้อำนวยการคณะกรรมการลีกฟุตบอลพีที ลิกา อินโดนีเซีย บารู (LIB) หัวหน้าคณะกรรมการจัดการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลอาเรมา มาลัง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยพวกเขาถูกกล่าวหาว่าล้มเหลวในการรับรองความปลอดภัยและความมั่นคงของสนามกีฬาอนึ่ง เหตุเหยียบกันครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงค่ำวันเสาร์ (1 ต.ค.) หลังสโมสรอาเรมา มาลัง แพ้สโมสรเปอร์เซบายา สุราบายา ระหว่างการแข่งขันลีกอินโดนีเซียสื่อท้องถิ่นรายงานว่ากลุ่มแฟนบอลทีมที่แพ้ปีนข้ามรั้วเข้าไปในสนามฟุตบอล ก่อให้เกิดการเหยียบกันและปะทะกับตำรวจ จากนั้นตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตา ทำให้เกิดความโกลาหลในหมู่แฟนบอลที่วิ่งหนีออกจากสนามและเหยียบกันบริเวณหนึ่งในทางออกลิสตีโยยังเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการประกาศรายชื่อผู้ต้องสงสัยเพิ่มเติม เนื่องจากการสืบสวนยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการ
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.