Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

'ฟีฟ่า' ใช้งานระบบจับล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ ในฟุตบอลโลก 2022

Football Sponsored
Football Sponsored

ฟีฟ่า พยายามจะนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในการตัดสินอย่างถูกต้องที่สุด โดยก่อนหน้านี้ โกลไลน์เทคโนโลยีถูกมาใช้ตั้งแต่ปี 2013 เริ่มจากลีกดังของยุโรปอย่างพรีเมียร์ลีก ขณะที่ VAR ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย

ล่าสุด สำหรับฟุตบอลโลก 2022 ในครั้งนี้ สหพันธ์ลูกหนังนานาชาติ (ฟีฟ่า) จึงพยายามทดลองเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Semi-automated offside technology (SAOT) เพื่อนำมาแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะ ก่อนล่าสุดมันจะผ่านการทดสอบแล้ว และจะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์

การรีวิวจังหวะล้ำหน้าจาก SAOT จะทำโดยการสร้างภาพจำลอง 3 มิติในจังหวะทำประตูขึ้นมา จากกล้องทั้งหมด 12 ตัว โดยจะมีการติดเซ็นเซอร์ไว้ที่ลูกบอล Adidas Al Rihla ที่จะส่งข้อมูลกลับมา 500 ครั้ง/วินาที มันจะทำงานประสานกับเครื่องมือที่ตามจับสรีระของนักเตะทั้งหมด 29 จุด ซึ่งจะส่งข้อมูลกลับมา 50 ครั้ง/วินาที

ด้าน ปิแอร์ลุยจิ คอลลิน่า ประธานคณะผู้ตัดสินของฟีฟา มั่นใจว่าระบบพร้อมแล้ว และสิ่งนี้มีขึ้นเพื่อช่วยกรรมการตัดสินใจไม่ให้มาทำหน้าที่แทน

“เรามองบวกมาก ระบบพร้อมแล้ว” คอลลิน่า กล่าว

“ผมได้อ่านข่าวที่บอกว่าเป็นกรรมการหุ่นยนต์นะ ผมเข้าใจว่าเป็นพาดหัวที่ดีแต่ก็ไม่ใช่แบบนั้น”

“กรรมการยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินอยู่ ระบบกึ่งอัตโนมัติช่วยเพียงแค่ให้คำตอบว่านักเตะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้ารึเปล่าเมื่อมีการสัมผัลลูกบอล การประเมินว่านักเตะฝ่ายตรงข้ามเข้ามาขัดจังหวะการเล่น, หรือเป็นจังหวะฟาวล์หรือแฮนด์บอลรึเปล่านั้นจะยังขึ้นอยู่กับกรรมการ”

“เป้าหมายของเราคือการช่วยให้กรรมการตัดสินใจในสนามได้อย่างถูกต้อง ถ้าเกิดบางสิ่งที่ผิดพลาดขึ้นมา, กรรมการอาจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้เห็นภาพได้ดีขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็ยังเปิดกว้างสำหรับการถกเถียง”

สำหรับ ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม โดย เซเนกัล กับ เนเธอร์แลนด์ จะลงเล่นเป็นคู่เปิดสนาม ในวันที่ 21 พฤศจิกายน เวลา 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 17:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.