Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

สลดวงการลูกหนัง! เหตุวุ่นวายในลีกสูงสุดอินโดนีเซีย แฟนบอลเสียชีวิตมากกว่า 120 ราย (ภาพ)

Football Sponsored
Football Sponsored

ข่าวสลดใจล่าสุดของวงการฟุตบอล ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย จากเหตุตะลุมบอนหลังเกม แต่ตำรวจเลือกใช้แก๊สน้ำตาเพื่อระงับเหตุ จนเรื่องบานปลายทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

โศกนาฏกรรมนี้เกิดขึ้นในฟุตบอลลีกสูงสุดอินโดนีเซีย หรือ ลีกา 1 คู่ระหว่าง อาเรมา เอฟซี พบ เปอร์เซบายา ซูราบายา ซึ่งเป็นทีมเยือนบุกมาชนะไป 3-2 ในช่วงหลังจบเกม แฟนบอลเจ้าถิ่นจำนวนหนึ่งไม่พอใจผลการแข่งขันจนวิ่งลงไปในสนาม จนตำรวจต้องรีบพานักเตะและสตาฟฟ์ของทั้งสองทีมออกจากสนามทันที

เหตุการณ์หลังจากนั้น แฟนบอลเริ่มอาละวาดจนมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ฝ่ายหลังตัดสินใจใช้แก๊สน้ำตาเพื่อหวังให้แฟนบอลสงบลง แต่กลายเป็นว่ามันสร้างความแตกตื่นจนทำให้แฟนบอลที่อยู่ในสนามวิ่งย้อนกลับมาและพยายามปีนรั้วขึ้นอัฒจันทร์ จนทำให้หลายคนล้มและถูกคนที่ตามมาเหยียบซ้ำจนเสียชีวิต เช่นเดียวกับผู้เคราะห์ร้ายจำนวนหนึ่งหายใจไม่ออกและเสียชีวิตในเวลาต่อมาเพราะแก๊สน้ำตา
รายงานล่าสุดจาก Kompas สื่ออินโดนีเซีย ระบุว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตพุ่งไปถึง 127 คนแล้ว แบ่งเป็นแฟนบอล 125 คน และตำรวจ 2 คน โดย 34 คน เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่เหลือมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาล และมีแนวโน้มที่จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากยังมีผู้บาดเจ็บอีกถึงมากกว่า 180 รายที่ยังอยู่ในภาวะวิกฤตและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

หลังจากข่าวโศกนาฏกรรมนี้เผยแพร่ออกไปทั่วโลก ก็ก่อให้เกิดแรงกดดันถึง สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ให้เข้ามาสอบสวนเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งอาจทำให้สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียได้รับบทลงโทษหนักตามมา เนื่องจากกฎของฟีฟานั้นระบุไว้ชัดเจนว่า ห้ามใช้แก๊สน้ำตาในสนามฟุตบอลเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.