Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

คุ้ม-ไม่คุ้ม! 15 อันดับนักเตะค่าตัวแพงสุดของ อาร์เซนอล | Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

15 นักเตะที่ค่าตัวแพงสุดของ อาร์เซนอล คุณคิดว่าใครผลงานคุ้มเม็ดเงิน และใครผลงานน่าผิดหวังบ้าง?

  • Getty

    15. ลูคัส ตอร์เรรา | 26 ล้านปอนด์ | ซามพ์โดเรีย | 2018

    ตอร์เรรา เริ่มต้นกับ อาร์เซนอล ด้วยฟอร์มอันยอดเยี่ยม และดูเหมือนว่าสโมสรจะได้แข้งชั้นดีมาในราคาเพียง 26 ล้านปอนด์

    อย่างไรก็ตาม เขากลับเจอปัญหาเรื่องการใช้ชีวิตในอังกฤษและเริ่มมีอาการโฮมซิค ทำให้ผลงานของเขาเริ่มตกลงเรื่อยๆ และแสดงความต้องการชัดเจนว่าอยากย้ายทีม

  • 14. วิลเลียม ซาลิบา | 27 ล้านปอนด์ | แซงต์ เอเตียง | 2019

    ซาลิบา ย้ายมาอยู่กับ อาร์เซนอล ตอนอายุเพียง 18 ปี ด้วยค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์ ด้วยความคาดหวังว่าจะกลายเป็นกำลังหลักของทีมในอนาคต

    แต่เขายังไม่มีโอกาสได้โชว์ฝีเท้าให้แฟนไอ้ปืนใหญ่ให้เห็นมากนัก และถูกปล่อยยืมตัวมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แต่เขาสามารถโชว์ฟอร์มได้ดีจนก้าวขึ้นไปติดทีมชาติฝรั่งเศสชุดใหญ่แล้ว

  • arsenal.com

    13. โอเล็กซานเดอร์ ซินเชนโก้ | 30 ล้านปอนด์ | แมนฯซิตี้ | 2022

    ซินเชนโก้ คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก 4 สมัยกับ แมนฯซิตี้ ก่อนย้ายมาร่วมงานกับ มิเกล อาร์เตต้า อีกครั้งที่ อาร์เซนอล

    กุนซือชาวสเปนยกย่องดาวเตะชาวยูเครนว่าไม่เพียงแต่จะเข้ามาเพิ่มคุณภาพให้กับทีมเท่านั้น แต่จะมาเพิ่มความเป็นนักสู้และความแข็งแกร่งด้านสภาพจิตใจให้ทีมด้วย

  • 12. ฟาบิโอ วิเอรา | 30 ล้านปอนด์ | ปอร์โต้ | 2022

    หลายคนเซอร์ไพรส์เมื่อเห็น อาร์เซนอล คว้าตัว วิเอรา มาร่วมทีม เพราะแทบไม่มีใครรู้จักนักเตะรายนี้มาก่อน

    อย่างไรก็ตาม มิเกล อาร์เตต้า ยืนยันว่าเขารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ตัวมิดฟิลด์ชาวโปรตุเกสรายนี้มาเสริมทัพ และมั่นใจว่าทีมได้ตัวนักเตะพรสวรรค์มาร่วมทีมอีกหนึ่งคนแล้ว

  • 11. มาร์ติน โอเดการ์ด | 30 ล้านปอนด์ | เรอัล มาดริด | 2021

    มาร์ติน​ โอเดการ์ด ย้ายมาร่วมทีมอาร์เซนอลด้วยสัญญายืมตัวในปี 2020, ก่อนที่ทีมจะซื้อขาดจากเรอัล มาดริดมาร่วมทีมด้วยค่าตัว 30 ล้านปอนด์

    ปัจจุบัน มิดฟิลด์ทีมชาตินอร์เวย์กลายเป็นหัวใจสำคัญของแนวรุก และหนึ่งในนักเตะที่โชว์ฟอร์มโดดเด่นที่สุดของทีมในฤดูกาล 2021/22

  • 10. อเล็กซิส ซานเชซ | 30 ล้านปอนด์ | บาร์เซโลนา | 2014

    อเล็กซิส คือหนึ่งในสุดยอดการเซ็นสัญญาของ อาร์เซนอล ในช่วงที่เขาโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมในการประสานงานกับ เมซุต โอซิล

    ดาวเตะทีมชาติ ชิลี ลงสนามให้ปืนใหญ่ 160 นัดทำ 80 ประตูกับ 45 แอสซิสต์ ก่อนย้ายไปร่วมทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในดีลแลกตัวกับ เฮ​นริค มคิทาร์ยาน

  • 9. กรานิท ซาก้า | 35 ล้านปอนด์ | โบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค | 2016

    ชาก้า ย้ายจากโบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค มาร่วมทีมในปี 2016 ครั้งหนึ่งเขาเคยรับหน้าที่กัปตันของสโมสร ก่อนจะโดนปลดเนื่องจากมีประเด็นปัญหากับแฟนบอล

    ดาวเตะทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ ลงสนามให้ อาร์เซนอล ไปแล้วมากกว่า 250 นัด คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ 2 สมัย

  • Getty

    8. ชโครดาน มุสตาฟี | 35 ล้านปอนด์ | บาเลนเซีย | 2016

    มุสตาฟี เป็นหนึ่งในการเซ็นสัญญาคนท้าย ๆ ในยุค อาร์แซน เวงเกอร์​ โดยเขาย้ายจาก บาเลนเซีย มาร่วมทีมในปี 2016

    แม้ว่า มุสตาฟี จะดูเป็นกองหลังที่มีสถิติส่วนตัวอันยอดเยี่ยม แต่ด้วยการที่เขามักก่อความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่เสมอ ทำให้แฟนบอลไม่ปลื้มกับเขามากนัก ก่อนโดนปล่อยฟรีออกไปในปี 2021

  • 7. เมซุต โอซิล | 42.5 ล้านปอนด์ | เรอัล มาดริด | 2013

    โอซิล เป็นการเซ็นสัญญาสถิติสโมสรตอนที่เขาย้ายจากเรอัล มาดริดมาอยู่กับทีมในปี 2014

    ในสีเสื้ออาร์เนอล โอซิล คือนักเตะที่สร้างโอกาสได้มากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล (146 ครั้ง ในฤดูกาล 2015/16) และในหนึ่งเกม (เกมพบ ซันเดอร์แลนด์ เดือนพฤษภาคมปี 2017)

    ทว่าเส้นทางของเขากับทีมต้องจบลงแบบไม่สวยนัก จากเหตุความขัดแย้งนอกสนามทำให้เขาโดนดร็อปจากทีม และทำให้ต้องย้ายไปร่วมทีม เฟเนร์บาห์เช

  • Getty.

    6. โธมัส ปาร์เตย์ | 45 ล้านปอนด์ | แอตฯมาดริด | 2020

    อาร์เซนอล สร้างเซอร์ไพรส์ทุ่มเงินฉีกสัญญา โธมัส ปาร์เตย์ จากแอตเลติโก้ มาดริด มาร่วมทีมในวันสุดท้ายของตลาดซัมเมอร์ 2020 ก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นหัวใจสำคัญของทีม

    หลังจากหายขาดจากอาการบาดเจ็บ ปาร์เตย์ เป็นตัวหลักของทีมในฤดูกาลที่ผ่านมา

  • Getty

    5. กาเบรียล เชซุส | 45 ล้านปอนด์ | แมนฯซิตี้ | 2022

    เชซุส เหลือสัญญากับ แมนฯซิตี้ เพียง 1 ปี แต่ อาร์เซนอล ยอมทุ่มเงินถึง 45 ล้านปอนด์เพื่อดึงตัวเขามาร่วมทีม

    กองหน้าชาวบราซิลทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในช่วงปรีซีซั่น และจะเป็นกำลังหลักในแนวรุกของไอ้ปืนใหญ่ในฤดูกาลหน้าอย่างแน่นอน

  • 4. อเลซองดร์ ลากาแซตต์ | 46.5 ล้านปอนด์ | ลียง | 2017

    ลากาแซตต์ ย้ายจากโอลิมปิก ลียง มาร่วมทีมอาร์เซนอลในปี 2017 แต่บทบาทของเขามีไม่มากนักหลังทีมเซ็นสัญญากับ ปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง ในอีก 6 เดือนถัดมา

    ในช่วงซัมเมอร์ปี 2022 สัญญาของเขากับไอ้ปืนใหญ่หมดลง และเจ้าตัวเลือกย้ายกลับไปค้าแข้งในลีกเอิงกับ ลียง อีกครั้งแบบไร้ค่าตัว

  • 3. เบน ไวท์ | 50 ล้านปอนด์ | ไบรท์ตัน | 2021

    ซัมเมอร์ 2021 เป็นปีที่น่าจดจำของ เบน ไวท์ หลังจากถูกเรียกติดทีมชาติอังกฤษไปยูโร 2020 และ กลายเป็นหนึ่งในกองหลังค่าตัวแพงที่สุดในเกาะอังกฤษ

    ด้วยอายุที่ยังน้อยทำให้ ไวท์ ยังมีเวลาพิสูจน์ตัวเองว่าเขาจะเป็นการเซ็นสัญญาที่คุ้มค่าของทีมหรือไม่

  • 2. ปิแอร์-เอเมริค โอบาเมยอง | 56 ล้านปอนด์ | โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ | 2018

    92 ประตูกับ 21 แอสซิสต์จากการลงสนาม 163 นัดให้ อาร์เซนอล โดยเขาเป็นการเซ็นสัญญาสถิติสโมสรในยุคของ อาร์แซน เวงเกอร์ หลังจากย้ายจาก ดอร์ทมุนด์ มาร่วมทีมในปี 2017

    ทว่าหลังเซ็นสัญญาใหม่ในปี 2020 ฟอร์มของ โอบาเมยอง ดร็อปลงไป ประกอบกับพฤติกรรมนอกสนาม ทำให้ทีมตัดสินใจยกเลิกสัญญา และนักเตะเลือกย้ายไปอยู่กับ บาร์เซโลนา

  • Getty

    1. นิโกลาส์ เปเป้ | 72 ล้านปอนด์ | ลีลล์ | 2019

    อาร์เซนอล ทุบสถิติสโมสรคว้าตัว เปเป้ มาจาก ลีลล์ เมื่อปี 2019 ท่ามกลางความคาดหวังจากแฟนบอลว่าทีมกำลังได้ตัวหนึ่งในปีกชั้นนำของโลกมาเสริมทีพ

    อย่างไรก็ตาม ฟอร์มการเล่นของเขากับไอ้ปืนใหญ่เต็มไปด้วยความไม่สอดคล้องกัน ทำให้เขาต้องเสียตำแหน่งตัวจริงให้กับ บูกาโย ซาก้า ดาวรุ่งของสโมสร

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.