Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

“แมนฯ ยู” ขาดทุนสูงสุด!! ผลาญเงินมากกว่า 1300 ล้านปอนด์ ซิวแค่ 4 แชมป์ – ผู้จัดการออนไลน์

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด รองแชมป์เก่า พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ ขาดทุนสุทธิ 909 ล้านปอนด์ (ประมาณ 40,500 ล้านบาท) ในตลาดนักเตะ ช่วง 10 ปีล่าสุด มากกว่าสโมสรอื่นๆ ของโลก

ตามข้อมูลของ CIES “เรด เดวิลส์” เสริมทัพมากกว่า 1,300 ล้านปอนด์ (ราว 58,000 ล้านบาท) ตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์ปี 2012 และทำเงินจากการขายนักเตะแค่ 397 ล้านปอนด์ (17,700 ล้านบาท) กวาดแค่ 4 โทรฟีระดับเมเจอร์ และจบซีซันแบบมือเปล่า นับตั้งแต่ปี 2017

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า สโมสรระดับพรีเมียร์ ลีก มีอำนาจทางการเงินมากสุดของทวีปยุโรป โดยติดท็อป 10 ด้านรายจ่าย 6 ทีม และพบว่า เอฟเวอร์ตัน กับ แอสตัน วิลลา ขาดทุนมากกว่ายักษ์ใหญ่อย่าง เชลซี และ ลิเวอร์พูล

พิจารณาเฉพาะ พรีเมียร์ ลีก แมนเชสเตอร์ ซิตี รั้งอันดับ 2 ของอังกฤษ และยุโรป ขาดทุนจากการซื้อ-ขายนักเตะ 832 ล้านปอนด์ (37,000 ล้านบาท) แต่กวาดไป 11 โทรฟี มากกว่า ยูไนเต็ด ซึ่งทุ่มเงินคว้านักเตะราคาแพง อาทิ พอล ป็อกบา, แฮร์รี แม็กไกวร์, เจดอน ซานโช และ เฟร็ด เกือบ 3 เท่า

อาร์เซนอล ติดอันดับ 3 เฉพาะสโมสรของอังกฤษ ขาดทุน 492 ล้านปอนด์ (22,000 ล้านบาท) แต่กวาดแชมป์เท่า แมนฯ ยูไนเต็ด 4 โทรฟี ตามด้วย เอฟเวอร์ตัน กับ แอสตัน วิลลา ขาดทุน 362 ล้านปอนด์ (16,000 ล้านบาท) และ 358 ล้านปอนด์ (15,900 ล้านบาท) ตามลำดับ

เชลซี ซึ่งคว้า 6 แชมป์ รวม พรีเมียร์ ลีก กับ ยูฟา แชมเปียนส์ ลีก อย่างละ 2 สมัย ขาดทุน 349 ล้านปอนด์ (15,500 ล้านบาท) ตามด้วยอันดับ 7 เวสต์ แฮม ยูไนเต็ด และอันดับ 8 ลิเวอร์พูล ซึ่งขาดทุน 293 ล้านปอนด์ (13,050 ล้านบาท) คว้า 2 แชมป์เมเจอร์ ยูฟา แชมเปียนส์ ลีก 2019 กับ พรีเมียร์ ลีก 2019-20

เบรนท์ฟอร์ด เป็นเพียงสโมสรเดียวของ พรีเมียร์ ลีก ซึ่งทำกำไรในตลาดนักเตะตลอด 10 ปีที่ผ่านมา รวม 36 ล้านปอนด์ (1,600 ล้านบาท)

สำหรับเวทีลูกหนังยุโรป ปารีส แซงต์ แชร์แมง ยักษ์ใหญ่แห่ง ลีก เอิง ฝรั่งเศส ขาดทุนอันดับ 3 รองจาก แมนฯ ยูไนเต็ด และ แมนฯ ซิตี 796 ล้านปอนด์ (35,500 ล้านบาท)

มูลค่าดังกล่าว รวมการซื้อ เนย์มาร์ ค่าตัวสถิติโลก 198 ล้านปอนด์ (8,800 ล้านบาท) เมื่อปี 2017 และ คีเลียน เอ็มบัปเป ค่าตัว 163 ล้านปอนด์ (7,260 ล้านบาท) เมื่อปี 2018

ส่วน บาร์เซโลนา รั้งอันดับ 4 ทุ่มเงินคว้า อุสมาน เดมเบเล, อองตวน กรีซมันน์ และ ฟิลิปเป คูตินโญ ตามด้วย อาร์เซนอล และอันดับ 6 ยูเวนตุส แชมป์ กัลโช เซเรีย อา 9 สมัยติดต่อกัน ก่อนเสียให้ อินเตอร์ มิลาน ซีซันที่แล้ว

เอซี มิลาน แชมป์ยุโรป 7 สมัย รั้งอันดับ 7 ขาดทุน 365 ล้านปอนด์ (16,300 ล้านบาท) และ อินเตอร์ฯ คู่ปรับร่วมเมือง อยู่อันดับ 11

สรุป 10 อันดับสโมสร พรีเมียร์ ลีก ขาดทุนในตลาดนักเตะสูงสุด ตั้งแต่ปี 2012
1. แมนฯ ยูไนเต็ด 909 ล้านปอนด์ (40,500 ล้านบาท) 4 แชมป์
2. แมนฯ ซิตี 832 ล้านปอนด์ (37,000 ล้านบาท) 11 แชมป์
3. อาร์เซนอล 493 ล้านปอนด์ (22,000 ล้านบาท) 4 แชมป์
4. เอฟเวอร์ตัน 362 ล้านปอนด์ (16,000 ล้านบาท) 0 แชมป์
5. แอสตัน วิลลา 358 ล้านปอนด์ (15,900 ล้านบาท) 0 แชมป์
6. เชลซี 349 ล้านปอนด์ (15,500 ล้านบาท) 6 แชมป์
7. เวสต์ แฮม ยูไนเต็ด 316 ล้านปอนด์ (14,000 ล้านบาท) 0 แชมป์
8. ลิเวอร์พูล 293 ล้านปอนด์ (13,000 ล้านบาท) 2 แชมป์
9. นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด 286 ล้านปอนด์ (12,700 ล้านบาท) 0 แชมป์
10. ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ 284 ล้านปอนด์ (12,600 ล้านบาท) 0 แชมป์

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.