Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

‘คลอปป์’ ยันไม่ปล่อยแข้งเล่นทีมชาติถ้าต้องกักตัว

Football Sponsored
Football Sponsored

เจอร์เกน คลอปป์ นายใหญ่ “หงส์แดง” ยัน ไม่อาจปล่อยนักเตะไปเล่นทีมชาติได้หากต้องกักตัว 10 วันเมื่อกลับมาตามกฎของรัฐบาลอังกฤษ หลัง ฟีฟ่า ให้สิทธิไม่ปล่อยนักเตะได้ถ้ากลับมาแล้วต้องกักตัวเกิน 5 วัน 

พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 11.50 น.

เจอร์เกน คลอปป์ ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล ยักษ์ใหญ่แห่งศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ออกมาระบุว่า เขาคงไม่อาจปล่อยนักเตะในทีมให้ไปรับใช้ทีมชาติ ในช่วง ฟีฟ่า เดย์ ปลายเดือนนี้ได้ หากนักเตะคนนั้นกลับมาแล้วต้องกักตัวตามกฎของอังกฤษ ที่ระบุว่า คนที่เดินทางมาจากชาติที่อยู่ใน “เรดลิสต์” จะต้องกักตัวตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 10 วัน

 

    

ก่อนหน้านี้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เพิ่มกฎใหม่โดยอนุญาตให้สโมสรมีสิทธิไม่ปล่อยนักเตะไปเล่นทีมชาติ หากนักเตะคนดังกล่าวต้องกักตัวตามกฎเกิน 5 วัน ซึ่ง คลอปป์ ยืนยันว่าเขาอาจจำเป็นต้องใช้สิทธิดังกล่าว เนื่องจากในทีมมีนักเตะจากชาติที่อยู่ใน “เรดลิสต์” ของอังกฤษหลายคน ไม่ว่าจะเป็น ดีโอโก โชตา ของทีมชาติโปรตุเกส หรือ อลิสซอน เบคเกอร์, โรแบร์โต ฟีร์มิโน รวมถึง ฟาบินโญ 3 นักเตะทีมชาติบราซิลด้วย 

 

    

คลอปป์ กล่าวว่า “ผมเข้าใจความจำเป็นที่แตกต่างกันของสมาคมฟุตบอลแต่ละชาติ แต่ในช่วงเวลาแบบนี้เราคงไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้หมด สโมสรเป็นคนจ่ายค่าจ้างให้นักเตะ ดังนั้นสโมสรย่อมต้องมาก่อน เรายังไม่แน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมันยังไม่มีความชัดเจน บางชาติอาจย้ายสนามไปเตะกันในประเทศอื่น คุณต้องรอจนวินาทีสุดท้าย เพราะทุกคนต่างต้องการเวลาในการตัดสินใจ ผมเชื่อว่าทุกคนคงเห็นด้วยว่าเราไม่อาจปล่อยนักเตะไปเล่นทีมชาติ แล้วต้องกักตัว 10 วันเมื่อกลับมาได้”

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    100%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.