Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

รู้จักกฎหมายชารีอะห์อิสลาม มีอิทธิพลมากต่อการปกครองของตาลีบัน – ที่นี่ดอทคอม

Football Sponsored
Football Sponsored

กลุ่มตาลีบันประกาศกร้าวหลังเข้ายึดครองประเทศอัฟกานิสถานได้อีกครั้งว่า จะทำการปกครองภายใต้หลักกฎหมายอิสลามหรือ “ชารีอะห์” เท่านั้น

แม้ตาลีบันเคยบอกว่าจะยอมเคารพสิทธิมนุษยชนแบบสากล รวมทั้งมอบสิทธิสตรีให้แก่ผู้หญิงอัฟกันมากขึ้น เพื่อให้ประชาคมนานาชาติยอมรับ แต่ก็ยังคงยืนกรานว่าสิทธิเหล่านั้นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายชารีอะห์

ถ้อยแถลงดังกล่าวไม่มีการชี้แจงรายละเอียดว่า ขอบเขตของกฎหมายอิสลามที่จะนำมาใช้นั้นอยู่ในระดับไหน ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถานเกิดความหวาดกลัว เพราะก่อนหน้านี้ตาลีบันเคยใช้บทลงโทษรุนแรงที่มาจากการตีความกฎหมายชารีอะห์มาแล้ว เช่นการลงโทษประหารชีวิตฆาตกรกลางที่สาธารณะ หรือประหารหญิงที่คบชู้ด้วยการขว้างหินใส่จนตาย

ชารีอะห์คืออะไร ?
ชารีอะห์ (Sharia / Shariah) คือระบบยุติธรรมของศาสนาอิสลาม ซึ่งอิงกับคำสอนในคัมภีร์อัลกุรอ่าน รวมทั้งเนื้อหาของซุนนะห์ (Sunnah) และฮะดีษ (Hadith) ซึ่งเป็นบันทึกคำพูดและการกระทำของศาสดามูฮัมหมัด

ชารีอะห์มีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า “หนทางไปสู่แหล่งน้ำที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งมีผู้คนมากมายเดินย่ำไป” กฎหมายชารีอะห์ทำหน้าที่เป็นกรอบกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิต ซึ่งมุสลิมทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยสิ่งเหล่านี้รวมถึงกฎเกณฑ์ในการละหมาด การถือศีลอด และการบริจาคทานให้คนยากไร้

หากไม่สามารถหาคำตอบในการตัดสินคดีความต่าง ๆ จากคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และบันทึกทางศาสนาโดยตรงได้ ผู้รู้ชาวมุสลิมอาจมีคำวินิจฉัยหรือฟัตวา (Fatwa) ออกมา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับกรณีหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ

ชารีอะห์เมื่อนำไปปฏิบัติจริง
กฎหมายชารีอะห์ถูกใช้เป็นหลักอ้างอิงในการดำเนินชีวิตประจำวันของมุสลิมทุกแง่มุม เช่นเมื่อเพื่อนร่วมงานชวนมุสลิมผู้หนึ่งไปหย่อนใจกันที่ผับหลังเลิกงาน เขาสามารถขอคำปรึกษาจากผู้รู้ทางศาสนาที่เชี่ยวชาญกฎหมายชารีอะห์ได้ เพื่อให้ทราบว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสมและอยู่ภายในขอบเขตคำสอนของอิสลาม

ประเด็นยอดนิยมที่มุสลิมใช้กฎหมายชารีอะห์เพื่อตัดสินปัญหาหรือคดีความ ยังได้แก่เรื่องความขัดแย้งในครอบครัว การเงิน และธุรกิจ ซึ่งในแต่ละประเทศหรือชุมชนแต่ละแห่ง มีการตีความเพื่อบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์โดยมีความเข้มงวดมากน้อยแตกต่างกันไป

บทลงโทษโหดร้ายเกินไปหรือไม่

กฎหมายชารีอะห์แบ่งการลงโทษออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ฮุดูด (Hudud / Hadd) หรืออาชญากรรมที่มีโทษสถานหนัก ซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษที่ตายตัวไว้อยู่แล้ว รวมทั้งอาชญากรรมแบบตาซีร์ (Tazir) ซึ่งบทลงโทษนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้พิพากษาเป็นหลัก

อาชญากรรมที่มีโทษสถานหนักยังรวมถึงการลักขโมย โดยโทษสูงสุดที่ผู้กระทำผิดอาจถูกผู้พิพากษาศาลชารีอะห์สั่งลงทัณฑ์ได้นั้นคือการตัดมือ

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ศาลชารีอะห์พิจารณาลงโทษสถานหนักนั้น จะต้องผ่านการทบทวนหลายขั้นตอนเพื่อป้องกันความผิดพลาด และจะต้องมีพยานหลักฐานมายืนยันความผิดอย่างแน่นหนา


ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามหลายแห่ง มีการนำบทลงโทษสถานหนักตามกฎหมายชารีอะห์มาใช้ แต่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวมุสลิมทั่วไปพบว่า แต่ละคนมีทัศนคติและความรู้สึกต่อเรื่องนี้แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย โดยใช่ว่าจะเห็นด้วยกับการลงโทษแบบชารีอะห์อย่างเต็มที่ทุกคน

ศาลชารีอะห์ตัดสินคดีความอย่างไร
แม้จะเป็นศาลที่ใช้กฎหมายทางศาสนา แต่ศาลชารีอะห์ก็เหมือนกับศาลในระบบยุติธรรมทั่วไป ซึ่งการพิจารณาคดีต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้พิพากษาที่มีคุณภาพ

ผู้รู้ที่เชี่ยวชาญกฎหมายชารีอะห์ มีหน้าที่ให้คำวินิจฉัยเป็นแนวทางเพื่อไขปัญหาทางศาสนา หรือตัดสินพิพากษาคดีความต่าง ๆ โดยคำตัดสินที่เป็นทางการของผู้รู้เหล่านี้เรียกว่าฟัตวา

ปัจจุบันมีวิธีการตีความกฎหมายชารีอะห์อยู่ 5 แนวทางด้วยกัน โดยเป็นแนวทางในนิกายซุนนีหรือสุหนี่ถึง 4 แบบ ได้แก่ ฮันบะลีย์, มาลิกี, ชาฟิอี, และฮะนะฟีย์ ส่วนแนวทางการตีความในแบบมุสลิมชีอะห์มีเพียงแบบเดียวคือ ชีอะห์จาฟารี

แนวทางการตีความทั้งห้านี้มีความแตกต่างกันในแง่ที่ว่า ผู้พิพากษาจะแปลความหมายของข้อความในคัมภีร์ ซึ่งเป็นต้นทางที่มาของกฎหมายชารีอะห์อย่างเคร่งครัดตรงตามตัวอักษรมากน้อยเพียงใดเท่านั้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  1. ช็อก!! ตาลีบันยิงหญิงอัฟกันไม่สวมผ้าคลุมบูร์กา หลังแถลงเคารพสิทธิสตรี
  2. ใครเป็นใคร? ในโครงสร้างอำนาจทาลิบัน
  3. ผงะ! พบชิ้นส่วนมนุษย์ ที่ล้อเครื่องบินอพยพคนอัฟกานิสถาน
  4. ไบเดน กร้าว ภารกิจ สหรัฐฯ คือเด็ดหัว บิน ลาเดน ไม่ใช่สร้างชาติให้อัฟกัน
  5. เศร้าทวีตสาวอัฟกัน พ้อโลกไม่แคร์เพราะเกิดที่อัฟกานิสถาน
  6. ไบเดนอยู่ไหน ในวันที่สหรัฐฯถอนทัพ-อัฟกานิสถานแตกสลาย
  7. สนามบินคาบูลป่วน!! ปชช.หนีขึ้นเครื่อง หลังตาลิบันยึดประเทศ
  8. ปธน.อัฟกานิสถานหนีออกนอกประเทศ หลังตาลีบันประชิดกรุงคาบูล
  9. อัฟกาฯยอมแพ้ตาลีบัน ตกลงถ่ายโอนอำนาจให้อย่างสันติ
  10. เปิดนาทีสลด! ชาวอัฟกันฯ แห่หนีตายแย่งกันเกาะเครื่องบิน สุดท้ายร่วงดับ
  11. เปิดนาทีชีวิต หนุ่มอัฟกันเกาะข้างเครื่องบินทยานขึ้นฟ้า ไม่รู้อยู่หรือตาย
  12. เปิดภาพ 640 ชีวิต เที่ยวบินสุดท้าย ที่ได้ออกจากอัฟกานิสถาน
  13. เปิดประวัติ ตาลีบัน คืออะไร? ทำไมถึงก่อความไม่สงบใน อัฟกานิสถาน
  14. >> ดูทั้งหมด :ช็อก!! ตาลิบันบุกยึดกรุงคาบูลสำเร็จ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.