Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

“ไอโอซี” ลงมติเป็นทางการรับ “มวยไทย” ให้เป็น “สหพันธ์กีฬานานาชาติ” เต็มรูปแบบ ปู – ช่อง 7

Football Sponsored
Football Sponsored

วันนี้ (20 ก.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มร.โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) เป็นประธานในการประชุมสมัชชาใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 138 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว โดยคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์หญิงไทย เดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา และได้เข้าร่วมประชุมพร้อม ๆ กับคณะกรรมการบริหารคนอื่น ๆ

คุณหญิงปัทมา ไอโอซีเมมเบอร์ กล่าวว่า ไอโอซี ลงมติโหวตรับ “มวยไทย” และ สหพันธ์กีฬามวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ หรือ “อิฟมา” อย่างเต็มรูปแบบ แล้ว ในการประชุมไอโอซี ครั้งที่ 138 หลังคณะกรรมการพิจาณาผ่านทุกเกณฑ์ที่กำหนด โดยนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มชาติสมาชิกทั่วโลกได้เล่นกีฬาประจำชาติไทย กันอย่างแพร่หลายแล้ว ยังจะเป็นการปูทางลุ้นบรรจุเข้าชิงชัยในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่าง โอลิมปิกเกมส์ ในอนาคตอีกด้วย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมอำนวยการขับเคลื่อนกีฬามวยไทยสู่โอลิมปิกและคณะอนุกรรมการดำเนินการการขับเคลื่อนกีฬามวยไทยสู่โอลิมปิก เปิดเผยว่า ต้องขอขอบคุณประธานไอโอซี รวมถึงคณะกรรมการทุกท่าน ที่ได้ให้การยอมรับกีฬามวยไทยในครั้งนี้ อยากจะขอชื่นชมอิฟมา และสมาชิกทั้ง 146 ประเทศ ที่ได้ร่วมมือกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของโอลิมปิก จนได้รับความไว้วางใจอย่างดีจากไอโอซี ขอยืนยันว่ารัฐบาลไทยจะส่งเสริมมวยไทย และสนับสนุนการดำเนินงานของอิฟมาอย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันให้กีฬามวยไทยได้บรรจุเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ภายในอนาคตอันใกล้

ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ประธานอิฟมา เปิดเผยว่า ต้องขอขอบคุณ สำนักงานระหว่างประเทศของอิฟมาเป็นพิเศษ ซึ่งนำโดยผู้อำนวยการ ชาริสซ่า ไทนัน ที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างหนัก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ได้จริง และมีการจัดทำเอกสารในแอปพลิเคชันที่มีความหนากว่า 1,000 หน้า เพื่อแสดงให้ไอโอซีได้เห็นถึงความสอดคล้องของเรากับวาระโอลิมปิก 2020+5
 
พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร รองประธานอิฟมา เปิดเผยว่า ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการบริหารอิฟมา ที่ทำงานอย่างหนัก และคณะกรรมการจัดการพิเศษ ที่ช่วยกันเสนอแนวคิดและทบทวนกระบวนการในการสมัครเพื่อให้ได้รับการรับรอง รวมถึงให้การสนับสนุนเพื่อรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ในการสมัคร ทั้งนี้ ผู้มีส่วนร่วมกับอิฟมาทุกฝ่ายและนักกีฬาจากประเทศสมาชิกจำนวน 146 ประเทศ ที่ได้แสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อไอโอซี ซึ่งนำโดย โธมัส บาค ประธานไอโอซี ที่ให้ความเชื่อมั่นในอิฟมา และขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของไอโอซีที่ให้ความร่วมมือและคำแนะนำตลอดระยะเวลาที่ทำการยื่นขอคำรับรอง

สำหรับสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ หรือ “อิฟมา” ก่อตั้งขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ก้าวไกลของสุภาพบุรุษกลุ่มหนึ่ง มีเป้าหมายรวมมวยไทยที่มีอยู่ทั่วโลก ให้มาอยู่ภายใต้กฎกติกาอันเดียวกัน โดยปี 2549 มวยไทยกลายเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการ หลังได้รับการเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ขยับอยู่ในฐานะเดียวเทียบเท่ากับฟีฟา (FIFA) ของวงการฟุตบอล ฟีบา (FIBA) ของบาสเกตบอล และ ฟีนา (FINA) ของกีฬาว่ายน้ำ โดยการรับรองจากสมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติ (General Association of International Sports Federations : GAISF) ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “มวยไทย” และอยู่ภายใต้การดูแลของ “อิฟม่า”
 
ในปี 2555 อิฟม่า ประกาศตัวให้สังคมโลกและโอลิมปิกได้รับทราบถึงความตั้งใจ ก่อนจะยื่นขอการรับรองชั่วคราวจากไอโอซี และได้รับการรับรองในปี 2559 หลังผ่านเกณฑ์สำคัญทั้งหมด 54 ข้อใน 8 หมวด ก่อนที่ล่าสุดจะได้รับการรับรองอย่างเต็มรูปแบบในที่ประชุมสมัชชาใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 138 ซึ่งถือเป็นการปูทางไปสู่การผลักดันให้กีฬามวยไทยให้ยิ่งเป็นที่รู้จัก ให้บรรจุเป้าหมายมีจัดชิงชัยในโอลิมปิกเกมส์

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.