Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

“เมย์-ครีม-คู่ผสม” เจองานเบา “กิ๊ฟ-วิว” หนักอึ้ง แบ่งสายขนไก่โอลิมปิก 2020 – ผู้จัดการออนไลน์

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สหพันธ์แบดมินตันโลก “บีดับเบิลยูเอฟ” มีการประกาศรายชื่อนักแบดมินตันที่ได้สิทธิ์ไปเล่นในโอลิมปิก 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พร้อมมีการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา

โดยใน “โตเกียวเกมส์” มีนักแบดมินตันจากประเทศไทย คว้าโควต้าไปเล่นทั้งหมด 7 คน จาก 3 ประเภท ได้แก่ หญิงเดี่ยว รัชนก อินทนนท์ กับบุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์, ชายเดี่ยว กันตภณ หวังเจริญ, คู่ผสม เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย และประเภทหญิงคู่ จงกลพรรณ กิติธรากุล กับ รวินดา ประจงใจ

ปรากฎว่าผลการจับสลากรอบแบ่งกลุ่ม ประเภทคู่ผสม “บาส-ปอป้อ” เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่มือ 2 ของโลก เจองานเบา ถูกจับอยู่ในกลุ่ม บี ร่วมกับ ทอม กีเคล กับเดลฟีน เดลรู มือ 10 ของโลก (ฝรั่งเศส), มาร์คัส เอลลิส กับ ลอเรน สมิธ มือ 8 ของโลก (อังกฤษ) และโยชัว เฮิร์ลเบิร์ต กับ โยเซฟิน อู๋ มือ 27 ของโลก (แคนาดา)

ประเภทหญิงเดี่ยว “เมย์” รัชนก อินทนนท์ มือ 6 ของโลก ถือว่าเจอกับคู่แข่งที่ไม่หนักเท่าไหร่ โดยอยู่ในกลุ่ม เอ็น ร่วมกับ โซเนีย เชี๊ยะ มือ 35 ของโลก (มาเลเซีย) และลอร่า ซาโรซี มือ 74 ของโลก (ฮังการี) ส่วน “ครีม” บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ อยู่ในสายที่ไม่แข็งเช่นกัน โดยอยู่ในกลุ่ม ดี ร่วมกับ คริสติน คูบา มือ 51 ของโลก (เอสโตเนีย) และดานิล่า มาซิอัส มือ 88 ของโลก (เปรู)

ประเภทชายเดี่ยว “กัน” กันตภณ หวังเจริญ มือ 18 ของโลก อยู่จับมาอยู่ในกลุ่ม เค ร่วมกับ ไค เชเฟอร์ มือ 74 ของโลก (เยอรมนี) และโทบี เพนตี มือ 56 ของโลก (อังกฤษ)

ประเภทหญิงคู่ “กิ๊ฟ-วิว” จงกลพรรณ กิติธรากุล กับ รวินดา ประจงใจ คู่มือ 8 ของโลก เจอสายที่ค่อนข้างหนัก เมื่อต้องอยู่ในกลุ่ม ดี ร่วมกับ เฉิน ชิงเฉิน กับ เจี๊ยะ อี้ฟาน คู่มือ 3 ของโลก (จีน), คิม โซยอง กับ คอง ฮียัง คู่มือ 5 ของโลก (เกาหลีใต้) และกาบรีล่า สโตเอว่า กับ สเตฟานี สโตเอว่า คู่มือ 12 ของโลกจากบัลแกเรีย

ทั้งนี้กีฬาแบดมินตัน ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม 2564

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.