Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

วิเคราะห์บอล เบลเยียม vs กรีซ วันศุกร์ที่ 04 มิถุนายน 2564 | thsport.com – thsport.com

Football Sponsored
Football Sponsored

เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 03 มิถุนายน 2564

3,426

เบลเยียม

เบลเยียม ของกุนซือ โรเบร์โต้ มาร์ติเนซ กำลังเตรียมทีมลุยยูโร 2020 รอบสุดท้าย โดยวางคิวอุ่น 2 นัดด้วยกัน  

ทีมชุดนี้มีตัวหลักครบครัน แต่ว่านัดนี้จะไม่สามารถใช้งาน เดอ บรอยน์ เพลย์เมกเกอร์จากแมนฯ ซิตี้ ที่ได้รับเจ็บบริเวณใบหน้ามาจากนัดชิงแชมเปี้ยนส์ ลีก รวมไปถึงอั๊กเซล วิตเซล ที่มีอาการเจ็บเอ็นร้อยหวายรบกวน

นัดนี้น่าจะจัดผสมโดยที่กลุ่มสำรองอย่าง ซิมง มิโญเลต์, ฮันส์ ฟานาเกน, ธอร์กาน อาซาร์, เฌเรมี่ โดกู, คริสติย็อง เบนเตเก้ และ เลอันโดร ทรอสซาร์ ได้โอกาสลงเล่น 

กรีซ

กรีซ ของกุนซือ ยอห์น ฟานท์ สคิป  พาทีมเสมอจอร์เจีย 1-1 ในเกมคัดบอลโลกล่าสุด ทำให้ไม่แพ้มา 5 เกมแล้ว

ฟานท์ สคิป พาทีมมาเป็นคู่ลับแข้งให้เบลเยียมในเกมนี้ ก่อนจะมีคิวลงสนามอีก 2 เกมกับนอร์เวย์ และ สวิตเซอร์แลนด์ ตามลำดับ

ทีมชุดนี้ไม่มี คอสตาส ฟอร์ตูนิส, คอสตาส สตาฟีลิดิส และ ดิมิตริส ซิโอวาส ต่างหลุดโผไปหมด ขณะที่ คอนสแตนตินอส มาฟโรปานอส กองหลังอาร์เซน่อล กลับมามีชื่ออีกครั้ง หลังทำผลงานได้ดีในการยืมตัวที่สตุ๊ตการ์ท

11 ผู้เล่นตามคาด 

เบลเยียม (3-4-3) : ซิมง มิโญเลต์ – เจสัน เดนาเยอร์, โทบี อัลเดอร์แวเรลด์, โธมัส แฟร์มาเล่น – ติโมธี คาสตาญ, ยูริ ตีเลมันส์, ฮันส์ ฟานาเกน, ธอร์กาน อาซาร์ – เฌเรมี่ โดกู, คริสติย็อง เบนเตเก้, เลอันโดร ทรอสซาร์

กรีซ (4-2-3-1) : โอดิสเซอัส วลาโชดิมอส – มิชาลิส บาคาคิส, คีเรียกอส ปาปาโดปูลอส, จอร์จอส ซาเวลลาส, ดิมิตริส จานนูลิส – การ์ลอส เซก้า, อันเดรียส บูชาลาคิส – จอร์จอส มาซูราส, ทาซอส บาคาเซตาส, คริสตอส ซิโอลิส – วานเจลิส ปาฟลิดิส

สนาม : สต๊าด รอย โบดวง, บรัสเซล 

เบลเยียม ขาด เดอ บรอยน์ ที่เจ็บ และอาจพัก ลูกากู ทำให้เกมรุกไม่ดุดันเท่าที่ควร ส่วน กรีซ เองก็มาแบบเน้นเต็มที่ เกมอุ่นเครื่องแบบนี้คงเน้นทดลองมากกว่าจะเอาจริงเอาจัง เชียร์ กรีซ ดีกว่าหากจะแพ้ก็คงไม่เกิน 1 ประตู

ผลที่คาด : เบลเยียม ชนะ กรีซ 2-1 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.