Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

มติ “ฟีฟา” ขัดกฎหมาย!! “วิลเลียน-แฟร์ตองเกน” แข้งหมดสัญญา อาจทิ้งทีมกลางทาง – ผู้จัดการออนไลน์

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นักเตะ พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ สามารถอำลาสโมสรกลางทาง แบบไม่ต้องแคร์มาตรการของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) กำหนดให้ขยายสัญญา หลังวันที่ 30 มิถุนายน

“เดลี เมล” หนังสืดพิมพ์ของ อังกฤษ รายงาน สมาคมนักฟุตบอลอาชีพอังกฤษ (PFA) ว่าจ้าง นิค เดอ มาร์โก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกีฬา และเคยเป็นเอเยนต์ส่วนตัวของนักกีฬาระดับซูเปอร์สตาร์ อาทิ ไทสัน ฟิวรี แชมป์มวยรุ่นยักษ์ และ แฮร์รี เคน ศูนย์หน้า ท็อตแนม ฮอตสเปอร์ เพื่อต่อสู้ประเด็นหั่นค่าจ้างผู้เล่น ช่วงวิกฤติ โควิด-19

ขณะเดียวกัน “ฟีฟา” วางแผนต่อสัญญานักเตะที่กำลังจะสิ้นสุดลงช่วงซัมเมอร์ กระทั่งวันปิดฤดูกาลจริง และเลื่อนตลาดซื้อ-ขาย แก้ปัญหาโรคระบาด อันเป็นเหตุให้ลีกใหญ่ๆ ทวีปยุโรป พักการแข่งขันชั่วคราว

อย่างไรก็ตาม เดอ มาร์โก ยืนยันบรรดาจอมเก๋าอย่าง โอลิวิเยร์ ชีรูด์, วิลเลียน 2 แนวรุก เชลซี และ แยน แฟร์ตองเกน ปราการหลัง สเปอร์ส มีสิทธิ์แยกทางต้นสังกัดทันที หลังวันที่ 30 มิ.ย. ตามกฎหมาย

“ตามกฎหมาย พวกเขาไม่สามารถถูกบังคับให้เล่นเพื่อสโมสรต่อไป และไม่มีใครสามารถบังคับให้พวกเขาทำเช่นนั้น ทั้ง ฟีฟา, เอฟเอ (สมาคมฟุตบอลอังกฤษ) หรือสโมสร หากพวกเขาต้องการย้าย นั่นก็เป็นเรื่องของพวกเขา แต่บทสรุปขึ้นอยู่กับเรื่องการเงินจะดึงดูดพวกเขาได้หรือไม่”

“หากนักเตะเหล่านี้หมดสัญญา พิจารณาตามหลักกฎหมายยังน่ากังวล พวกเขาไม่ใช่ลูกจ้างสโมสรอีกต่อไป และสามารถย้ายทีมได้อย่างอิสระ” เดอ มาร์โก ทิ้งท้าย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.