Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

สถิติอื่นๆ ที่น่าสนใจหลัง ลิเวอร์พูล กำชัยในแดงเดือด – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังจากต้องเลื่อนการแข่งขันมา ในที่สุดบทสรุปของศึกแดงเดือดภาค 3 ประจำซีซั่นนี้ก็ออกมาแล้ว โดยที่ ลิเวอร์พูล สามารถบุกมาชนะ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้ถึง โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด 4-2 จนทำให้ยังมีโอกาสดีที่จะติดท็อปโฟร์เพื่อให้ได้สิทธิ์เล่น ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาลหน้า

   ผลการแข่งขันที่ออกมาทำให้มันเกิดสถิติหลายอย่างตามที่มีการนำเสนอกันไป อย่างเช่นการที่ เจอร์เก้น คล็อปป์ สามารถบุกมาชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด ถึงสนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ในฐานะกุนซือ ลิเวอร์พูล ได้เป็นครั้งแรก เป็นต้น แต่มันก็ยังมีสถิติแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจเช่นกัน

 – บรูโน่ เอาชนะ แลมพาร์ด

  แฟร้งค์ แลมพาร์ด ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกองกลางที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์ของศึก พรีเมียร์ลีก เพราะนอกจากจะช่วยปั้นเกมได้แล้วนั้นเขายังสามารถทำประตูได้เป็นกอบเป็นกำด้วย ซึ่งฤดูกาล 2009-10 เป็นซีซั่นที่ แลมพาร์ด จบสกอร์ได้เฉียบคมอย่างมากด้วยการทำประตูไป 27 ลูกจากการลงเล่นในทุกรายการ และนั่นทำให้เขากลายเป็นกองกลางจากทีมในศึก พรีเมียร์ลีก ที่ทำประตูต่อ 1 ซีซั่นในการลงเล่นทุกรายการได้มากที่สุดด้วย

  หลายคนเคยคิดว่าสถิติของ แลมพาร์ด น่าจะไม่มีใครทำลายได้ หรือถ้าจะมีก็อาจจะต้องรออีกสัก 20 ปี เพราะผลงาน 27 ลูกมันเทียบเท่ากับกองหน้าเลยด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม บรูโน่ ก็สามารถล้มสถิตินั้นได้แล้ว เพราะประตูในเกมแดงเดือดนัดล่าสุดทำให้เขายิงในทุกรายการของซีซั่นนี้ไปแล้ว 28 ประตูด้วยกัน

  ถ้าหากคนจะพาดพิงว่า บรูโน่ ล้มสถิติของ แลมพาร์ด ได้เพราะลูกจุดโทษแล้วล่ะก็ มันก็ต้องบอกก่อนว่าข้ออ้างนั้นฟังไม่ค่อยขึ้นเท่าไหร่ เพราะ 28 ประตูที่ บรูโน่ ทำได้ในซีซั่นนี้นั้นมาจากลูกจุดโทษ 8 ลูก ขณะที่ในฤดูกาล 2009-10 แลมพาร์ด ทำประตูจากลูกจุดโทษไป 9 หนด้วยกัน

 – ในบ้านอย่างรั่ว

  ตามที่หลายนคงได้อ่านกันไปแล้วว่าตอนนี้ แมนฯ ยูไนเต็ด ถือเป็นทีมที่เสียประตูกับเกมในบ้านของศึก พรีเมียร์ลีก มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ด้วยจำนวน 27 ลูก โดยมีเพียง เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน กับ นิวคาสเซิ่ล ที่โดนยิงในบ้านมากกว่าพวกเขา

  อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องนั้นแล้วนี่ยังเป็นฤดูกาลที่ แมนฯ ยูไนเต็ด เสียประตูใน โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด กับการเล่นเกมลีกมากที่สุดภายในฤดูกาลเดียว นับตั้งแต่ซีซั่น 1971-72 ด้วย จากการที่ตอนนั้น “ปีศาจแดง” เสียประตูในบ้านไป 26 ลูก

 – นำก่อนไม่รุ่ง

  นี่นับเป็นครั้งที่ 2 ในฤดูกาลนี้แล้วที่ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นฝ่ายขึ้นนำไปก่อนกับการเล่นเกมลีกที่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด แต่พอเข้าสู่ช่วงพักครึ่งแล้วต้องเป็นฝ่ายตามหลัง โดยหนแรกเกิดขึ้นในเกมที่แพ้ สเปอร์ส 1-6 เมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปีก่อน

 ที่จริงแล้วตลอดการลงเล่น พรีเมียร์ลีก 28 ซีซั่นก่อนหน้านี้นั้น มันเคยมีเพียงครั้งเดียวที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ขึ้นนำไปก่อนกับการเล่นเกมลีกในบ้าน แต่กลับต้องเป็นฝ่ายตามหลังเมื่อเข้าสู่ช่วงพักครึ่ง โดยเกมที่ว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 2009 และบังเอิญเหลือเกินที่คู่แข่งในวันนั้นก็คือ ลิเวอร์พูล เช่นกัน โดยวันนั้น ลิเวอร์พูล ชนะไปแบบขาดลอย 4-1

 – ฟีร์มีโน่ เด่นกับลูกกลางอากาศ

  แม้ว่าผลงานการทำประตูโดยรวมของ โรแบร์โต้ ฟีร์มีโน่ จะไม่โดดเด่นเท่ากับ 2 สหายในแนวรุกอย่าง โมฮาเหม็ด ซาลาห์ หรือ ซาดิโอ มาเน่ แต่เขาก็ถือเป็นคนที่ ลิเวอร์พูล มักจะพึ่งพาได้เสมอกับการเล่นลูกกลางอากาศ โดยผลงานในเกมแดงเดือดนัดล่าสุดทำให้ตอนนี้เขาโหม่งทำประตูในเกม พรีเมียร์ลีก ให้กับ ลิเวอร์พูล ไปแล้ว 17 หนด้วยกัน

 ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่ลีกสูงสุดของเมืองผู้ดีเปลี่ยนมาใช้ชื่อ พรีเมียร์ลีก นั้น มันมีนักเตะ ลิเวอร์พูล แค่คนเดียวที่ทำประตูจากลูกโขกได้มากกว่า ฟีร์มีโน่ และคนๆ นั้นก็มีดีกรีระดับพระเจ้า เพราะเขาคือ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ ที่ทำไป 21 ลูก

 – ซาลาห์ กับคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์

   ผลงานในนัดล่าสุดทำให้ ซาลาห์ สามารถทำประตูในการเยือน โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ได้ทั้ง 2 หนในซีซั่นนี้ หลังจากก่อนหน้านี้เขาก็เคยทำไป 2 ประตูในเกม เอฟเอ คัพ รอบ 4 นัดที่ ลิเวอร์พูล ออกมาแพ้ แมนฯ ยูไนเต็ด 2-3 เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

  ทั้งนี้ ก่อนจะมาถึง ซาลาห์ นั้น มันเคยมีนักเตะ ลิเวอร์พูล แค่คนเดียวที่ทำประตูในการเยือน แมนฯ ยูไนเต็ด ได้อย่างน้อย 2 หนภายในซีซั่นเดียวกันในกรณีที่ลงเล่นคนละรายการ (หมายถึงทำประตูได้ในลีกกับเกมบอลถ้วย) โดยคนๆ นั้นคือ แฮร์รี่ แชมเบอร์ส ที่ทำเอาไว้เมื่อฤดูกาล 1920-21 นั่นเอง

    – เด็กเกร็ดบอล –

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.