Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

The Fabelmans หนังประวัติ สตีเว่น สปีลเบิร์ก คว้าลูกโลกทองคำ – ข่าวสด

Football Sponsored
Football Sponsored

The Fabelmans หนังประวัติ สตีเว่น สปีลเบิร์ก คว้าลูกโลกทองคำ

The Fabelmans หนังประวัติชีวิตวัยเด็กของ สตีเว่น สปีลเบิร์ก เจ้าของฉายาพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด คว้าลูกโลกทองคำ ประจำปีนี้ แถมตัว สปีลเบิร์ก เอง ยังคว้ารางวัลผู้กำกับฯยอดเยี่ยมไปครองอีกด้วย
เปิดประเดิมต้นปีกับงานประกาศรางวัลรายการใหญ่ของคนบันเทิงฝั่งฮอลลีวู้ด ลูกโลกทองคำ 2023 ครั้งที่ 80 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเบเวอร์รี่ ฮิลล์ พร้อมทั้งกลับมาถ่ายทอดสดทางช่อง NBC อีกครั้ง โดยได้ดาวตลกคนดัง เจเร็ด คาร์ไมเคิล รับหน้าที่พิธีกร

สตีเว่น สปีลเบิร์ก

หลังเจอดราม่าหนักหน่วง ไปเมื่อปีที่แล้ว ทั้งเหล่านักแสดงบอยคอต ช่อง NBC ไม่ถ่ายทอดสด เพราะไม่เชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสในการทำงานของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศฮอลลีวู้ด ปีนี้ ลูกโลกทองคำ ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง แม้จะยังไม่เต็มรูปแบบ เพราะนักแสดงหลายรายยังคงไม่ยอมมาร่วมงาน
โดยสรุปผลรางวัลในปีนี้ The Banshees of Inisherin ที่เข้าชิงมากที่สุดถึง 8 รางวัล คว้าไปได้ 3 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทมิวสิคัล/คอมเมดี้, นักแสดงภาพยนตร์ชายยอดเยี่ยม ประเภทตลก/มิวสิคัล โดย คอลิน ฟาร์เรลล์ และ บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดย มาร์ติน แม็คโดนา
ส่วนหนังประวัติชีวิตวัยเด็กของผู้กำกับฯดัง สตีเว่น สปีลเบิร์ก เจ้าของฉายาพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด เรื่อง The Fabelmans คว้ารางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า และ ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก

มิเชล โหย่ว

ด้านสาวเอเชียคนดังระดับโลก มิเชล โหย่ว คว้ารางวัล นักแสดงภาพยนตร์หญิงยอดเยี่ยม ประเภทมิวสิคัล/คอมเมดี้ จากหนังอินดี้กระแสปัง Everything Everywhere All at Once กลับบ้านไปนอนกอด
อีกหนึ่งรางวัลสำคัญ Cecil B. deMille Award ที่มอบให้กับผู้ที่สร้างความบันเทิงให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างยาวนาน ตกเป็นของ นักแสดงตลกอารมณ์ดี เอ็ดดี เมอร์ฟี

สรุปผลรางวัลลูกโลกทองคำประจำปีนี้ ทั้งด้านภาพยนตร์ และโทรทัศน์ มีดังต่อไปนี้

รางวัลด้านภาพยนตร์
– ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
The Fabelmans

– ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทมิวสิคัล/คอมเมดี้
The Banshees of Inisherin

– นักแสดงภาพยนตร์หญิงยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
เคต แบลนเชตต์ จาก Tar

ออสติน บัตเลอร์

– นักแสดงภาพยนตร์ชายยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
ออสติน บัตเลอร์ จาก Elvis

– นักแสดงภาพยนตร์หญิงยอดเยี่ยม ประเภทมิวสิคัล/คอมเมดี้
มิเชล โหย่ว จาก Everything Everywhere All at Once

– นักแสดงภาพยนตร์ชายยอดเยี่ยม ประเภทตลก/มิวสิคัล
คอลิน ฟาร์เรลล์ จาก The Banshees of Inisherin

– นักแสดงภาพยนตร์สมทบหญิงยอดเยี่ยม
แองเจล่า บาสเซ็ตต์ จาก Black Panther: Wakanda Forever

– นักแสดงภาพยนตร์สมทบชายยอดเยี่ยม
โจนาธาน คี ควาน จาก Everything Everywhere All at Once

– ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
สตีเว่น สปีลเบิร์ก จาก The Fabelmans

– บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
The Banshees of Inisherin โดย มาร์ติน แม็คโดนา

– ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม
เรื่อง Guillermo del Toro’s Pinocchio

– ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม
Argentina, 1985 จาก อาร์เจนตินา

– ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
Babylon โดย จัสติน เฮิร์ตวิตช์

– เพลงประกอบยอดเยี่ยม
Naatu Naatu จาก RRR

House of the Dragon

รางวัลด้านโทรทัศน์
– ทีวีซีรีส์ยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
House of the Dragon

– ซีรีส์ยอดเยี่ยม ประเภทตลก/มิวสิคัล
Abbott Elementary

– ซีรีส์ขนาดสั้นและภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ยอดเยี่ยม
The White Lotus: Sicily

– นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม สาขาซีรีส์ขนาดสั้นและภาพยนตร์ทางโทรทัศน์
อแมนด้า ไซเฟรด จาก The Dropout

– นักแสดงชายยอดเยี่ยม สาขาซีรีส์ขนาดสั้นและภาพยนตร์ทางโทรทัศน์
อีแวน ปีเตอร์ส จาก Monster: The Jeffrey Dahmer Story

– นักแสดงซีรีส์หญิงยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
เซนดายา จาก Euphoria

– นักแสดงซีรีส์ชายยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า
เควิน คอสเนอร์ จาก Yellowstone

ซีรีส์ Abbott Elementary

– นักแสดงซีรีส์หญิงยอดเยี่ยม ประเภทตลก/มิวสิคัล
ควินตา บรอนสัน จาก Abbott Elementary

– นักแสดงซีรีส์ชายยอดเยี่ยม ประเภทตลก/มิวสิคัล
เจรามี อัลเลน ไวต์ จาก The Bear

– นักแสดงซีรีส์สมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขาซีรีส์ขนาดสั้นและภาพยนตร์ทางโทรทัศน์
เจนนิเฟอร์ คูลลิดจ์ จาก The White Lotus: Sicily

– นักแสดงซีรีส์สมทบชายยอดเยี่ยม สาขาซีรีส์ขนาดสั้นและภาพยนตร์ทางโทรทัศน์
พอล วอลเตอร์ เฮาเซอร์ จาก Black Bird

– นักแสดงซีรีส์สมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขาซีรีส์ตลกหรือดราม่า
จูเลีย การ์เนอร์ จาก Ozark

– นักแสดงซีรีส์สมทบชายยอดเยี่ยม สาขาซีรีส์ตลกหรือดราม่า
เทเลอร์ เจมส์ วิลเลียมส์ จาก Abbott Elementary

ที่มา : Golden Globe Awards

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.