Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

ฟีร์มีโน่ เหนือ ซาลาห์!ท็อป10แข้ง ลิเวอร์พูล คนโปรด คล็อปป์

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิด 10 อันดับนักเตะ ลิเวอร์พูล ลงเล่นให้ เจอร์เก้น คล็อปป์ มากสุด เบอร์หนึ่งเป็นของ โรแบร์โต้ ฟีร์มีโน่ ตามมาด้วย โม ซาลาห์

เจอร์เก้น คล็อปป์ ผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูล ต้องเจอกับปัญหานักเตะบาดเจ็บหลายรายในฤดูกาล 2022/23 แถมแต่ละคนยังเป็นตัวหลักและต้องพักนานอีกด้วย ส่งผลให้ผลงานของทีมลุ่มๆ ดอนๆ และรั้งอันดับ 6 ของตาราง พรีเมียร์ลีก อยู่ในเวลานี้

กุนซือชาวเยอรมัน เข้ามาทำงานที่ถิ่น แอนฟิลด์ ตั้งแต่ปี 2015 และมีนักเตะที่ผ่านมือใช้งานมาแล้วมากมาย โดยคนที่ได้โอกาสลงสนามมากสุดคือ โรแบร์โต้ ฟีร์มีโน่ กองหน้าบราซิเลียน 

ฟีร์มีโน่ ลงเล่นให้ “หงส์แดง” ภายใต้การคุมทีมของ คล็อปป์ ไปทั้งหมด 24,760 นาทีหรือคิดเป็น 341 เกม ขณะที่ โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ปีกอียิปต์ ตามมาเป็นอันดับ 2 ถูกส่งลงสนาม 22,993 นาที (280 เกม)

10 อันดับนักเตะ ลิเวอร์พูล ลงเล่นให้ คล็อปป์ มากสุด

1. โรแบร์โต้ ฟีร์มีโน่   24,760 นาที (341 เกม)

2. โมฮาเหม็ด ซาลาห์   22,993 (280)

3. แอนดี้ โรเบิร์ตสัน   21,013 (245)

4. จอร์แดน เฮนเดอร์สัน  20,665 (281)

5. เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ 20,635 (250)

6. อลีสซง    18,775 (208)

7. เฟอร์จิล ฟาน ไดค์  18,376 (205)

8. เจมส์ มิลเนอร์  17,670 (300)

9. ฟาบินโญ่   14,805 (195)

10. โฌแอล มาติป  14,539 (179)

ที่มาของภาพ : ฟุตบอล

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.