Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

“ซาลาห์” ลุ้นทุบสถิติฟาวเลอร์เกมบู๊เลสเตอร์

Football Sponsored
Football Sponsored
“ซาลาห์” ลุ้นทุบสถิติฟาวเลอร์เกมบู๊เลสเตอร์

โมฮาเหม็ด ซาลาห์ กองหน้าตัวเก่งของ ลิเวอร์พูล มีโอกาสทำลายสถิติยิงประตูด้วยเท้าซ้ายมากที่สุดในพรีเมียร์ ลีก ของ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ ในเกมที่จะลงสนามพบ เลสเตอร์ ซิตี้ คืนวันนี้

“หงส์แดง” ลิเวอร์พูล เตรียมเปิดแอนฟิลด์ รับการมาเยือนของ เลสเตอร์ ซิตี้ ในคืนนี้ เวลา 03.00 น. โดยเกมนี้ โมฮาเหม็ด ซาลาห์ กองหน้าทีมชาติอียิปต์ มีโอกาสที่จะทำลายสถิติเป็นนักเตะที่ยิงประตูด้วยเท้าซ้ายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพรีเมียร์ ลีก ของ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ ที่เคยทำไว้ 105 ประตู หลังสถิติปัจจุบันของเจ้าตัวทำไปแล้วถึง 104 ประตู ทำให้มีโอกาสสูงที่จะทำสถิติเทียบเท่า หรือแซงหน้าตำนานของสโมสร

คล็อปป์ยันซื้อ “กัคโป” ไม่กระทบ “ฟีร์มิโน่”

“แมนฯซิตี้” เตรียมเสนอ “กรีลิช” แลกตัว “เลเอา”

ทั้งนี้ ซาลาห์ เป็นเจ้าของสถิติหลายด้าน ทั้งเป็นผู้เล่นที่ยิงประตูได้มากเกมที่สุดระหว่างฤดูกาลที่ 24 เกม, เป็นนักเตะที่ยิงประตูด้วยเท้าซ้ายมากที่สุดในฤดูกาลเดียว 25 ประตู, ยิงประตูในเกมเปิดสนาม 6 ซีซั่นติดต่อกัน, เป็นนักเตะแอฟริกันที่ยิงในพรีเมียร์ ลีก มากที่สุดที่ 127 ประตู และล่าสุดยิงประตูให้กับ ลิเวอร์พูลไปแล้ว 172 ประตู เท่ากับ เคนนี่ ดัลกริช รั้งอันดับ 8 ตลอดกาลของสโมสร โดยตามหลัง ฟาวเลอร์ เพียง 11 ประตูเท่านั้น

ส่วนความพร้อมในคืนนี้ เจอร์เก้น คล็อปป์ ได้ข่าวดีเมื่อ อิบราฮิม่า โกนาเต้ กลับมาฝึกซ้อมกับทีมได้แล้ว แต่ยังคงไม่สามารถใช้งาน เจมส์ มิลเนอร์, เคอร์ติส โจนส์, อาร์ตูร์ เมโล่, ดิโอโก้ โชต้า, หลุยส์ ดิอาซ และ โรแบร์โต้ ฟีร์มิโน่ ที่มีอาการเจ็บรบกวน ขณะที่กองหน้าป้ายแดงอย่าง โคดี้ กัคโป จะมาร่วมทีมอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ม.ค. คาดว่า คล็อปป์ จะส่ง ดาร์วิน นูนเญซ, โมฮาเหม็ด ซาลาห์ และ ฟาบิโอ คาร์วัลโญ่ ลงล่าตาข่าย

คอนเทนต์แนะนำ


Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.