Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

ฟุตบอลโลก 2022 ฟัตวาผู้นำซาลาฟีย์ในอียิปต์ ถกเดือด!

Football Sponsored
Football Sponsored

สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์:  ฟุตบอลโลก 2022 ฟัตวาผู้นำซาลาฟีย์ในอียิปต์ ถกเดือด!

คำฟัตวาเกี่ยวกับฟุตบอลที่ออกโดยผู้นำแนวคิดซาลาฟีในอียิปต์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้เกิดการถกเถียงอย่างร้อนแรง ในช่วงเวลาที่ชาวอียิปต์หลายแสนคนกำลังติดตามการแข่งขันฟุตบอลโลกอย่างจริงจัง

ยูนิส มัคยูน ประธานสภาคองเกรสและอดีตผู้นำพรรคนูรฺ ซึ่งมีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง ได้กล่าวคำวิพากษ์วิจารณ์ในวิดีโอที่โพสต์บนเพจเฟสบุ๊กของคนรักฟุตบอล เขายังได้ตอบคำถามที่ผู้ชมได้สอบถามว่า การเล่นฟุตบอลเป็นสิ่งอนุมัติในอิสลามหรือไม่ โดยว่า “การเฝ้าดูคน 22 คน วิ่งไล่ตามลูกฟุตบอลลูกเดียว เป็นเรื่องที่เสียเวลาอย่างมาก มุสลิมไม่ควรใช้เวลามาหมกมุ่นในเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนออกห่างจากการเคารพภักดีพระเจ้า”

“คนที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการชมการแข่งขันฟุตบอล สามารถใช้เวลาในช่วงนี้ทำสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ เช่น การอ่านอัล-กุรอาน ศัตรูของอิสลามใช้เกมนี้เพื่อหันเหความสนใจของผู้คนจากเพื่อนของเราในปาเลสไตน์ที่ถูกฆ่าตายทุกวัน”

เขายังถามกลับว่า “การดูการแข่งขันมีประโยชน์อย่างไร ในเมื่อเราเห็นแต่ความแข็งแกร่งของนักกีฬา โดยไม่ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญอย่างอื่นของการเล่นกีฬา

มัซซา โมสตาฟา พิธีกรรายการโทรทัศน์ชื่อดัง ตอบโต้ ยูนิส ผ่านรายการโทรทัศน์ Salet El-Tahrir (ห้องข่าว) ที่เธอออกอากาศเป็นประจำทางช่อง ทีวี. Sada El-Balad ด้วยการสัมภาษณ์ ดร.คาเลด ออมรัน เลขาธิการคณะกรรมการฟัตวา แห่ง ดาร์ เอล-ฟัตวา ซึ่งกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกิจกรรมที่ดี เป็นกีฬาที่ได้รับการรับรอง และยังมีสหภาพ (ฟีฟ่า) เป็นผู้จัด การแข่งขันช่วยให้ทุกคนรู้จักวัฒนธรรมอื่น ๆ “การดูหรือฝึกเล่นฟุตบอลไม่ใช่เรื่องผิด”

“การยึดเอานักเตะคนดังเป็นแบบอย่างก็ไม่ใช่เรื่องผิด หากเรายึดในแบบอย่างของคนที่ดี เช่น โมฮาเหม็ด ซาลาฮ์ นักเตะชาวอียิปต์ ที่ประสบความสำเร็จ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชน”

คาดว่าทีมชาติอียิปต์จะลงแข่งชิงถ้วย African Cup ที่จะจัดขึ้นปลายปีนี้ โดยทีมชาติอียิปต์เคยคว้าแชมป์มาแล้ว 7 ครั้ง ระหว่างปี 1957 – 2017

พรรคนูรฺ เป็นพรรคอิสลามที่โดดเด่นในอียิปต์ และเป็นที่รู้กันดีว่าภักดีต่อระบอบการปกครองของประธานาธิบดี เอล ซีซี พรรคยังเป็นตัวแทนทั้งในรัฐสภาและวุฒิสภา พรรคนูรฺ ยังเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุน เอล ซีซี ในสมัยที่เขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และเป็นผู้นำการรัฐประหารเพื่อปลดประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มุรซี ที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยคนแรก ออกจากตำแหน่ง ในเดือนกรกฎาคม 2013

ที่มา: www.newarab.com

https://news.muslimthaipost.com/news/36803

  • ซาอุฯ หนุน AMF ให้เยเมนกู้ 1 พันล้านดอลล่าร์
  • ดราม่า! ทวิตทีมฟุตบอลสหรัฐฯ แสดงธงชาติอิหร่าน มีแค่แถบสีไม่มีตรา
  • เหตุจลาจล หลังทีมโมร็อกโกชนะเบลเยียม 2:0
  • ความขัดแย้งในอิหร่าน แผ่เข้าแข่งฟุตบอลโลกที่กาตาร์
  • รู้กันหรือไม่? ลูกฟุตบอลโลก 2022 ผลิตในอินโดนีเซีย
  • FIFA ห้ามแฟนบอลอังกฤษ สวมพร็อพชุดครูเสด “อาจดูหมิ่นมุสลิม”
  • ทีมเยอรมนีปิดปากถ่ายรูป ประท้วงฟีฟ่าห้ามหนุนรักร่วมเพศ
  • ฟุตบอลโลก 2022 ชาวปาเลสไตน์ใช้โอกาส เรียกร้องให้สนใจปัญหา
  • บอลซาอุฯ ชนะ เผยภาพมกุฎราชกุมารเชียร์ฟุตบอลร่วมพระญาติ
  • ฉีกหน้าเจ้าภาพ เนเธอร์แลนด์ประมูลเสื้อบอลโลก หนุนแรงงานข้ามชาติในกาตาร์
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.