เชลซีเฮ! เลสเตอร์ยอมขายโฟฟาน่าแล้ว คาดค่าตัว 75 ล้านปอนด์ เซ็นถึงปี 2028
เชลซีเฮ! เลสเตอร์ยอมขายโฟฟาน่าแล้ว คาดค่าตัว 75 ล้านปอนด์ เซ็นถึงปี 2028
ฟาบริซิโอ โรมาโน่ กูรูตลาดซื้อขายของ “สกาย อิตาเลีย” รายงานว่า เชลซีบรรลุข้อตกลงคว้าตัวเวสลีย์ โฟฟาน่า กองหลังวัย 21 ปี จากเลสเตอร์ ซิตี้ เรียบร้อยแล้ว โดยจะเซ็นสัญญา 6 ปี ถึงปี 2028 ค่าตัวอยู่ที่ 75 ล้านปอนด์ (3,225 ล้านบาท) พร้อมแอดออนต่างหาก เหลือขั้นตอนทำเอกสาร ซึ่งหากรวมแอดออนเข้าไปแล้ว อาจสูงเป็นสถิติโลกสำหรับนักเตะตำแหน่งเซ็นเตอร์ ทำลายสถิติเดิมตอนแฮร์รี่ แม็กไกวร์ ย้ายร่วมทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 80 ล้านปอนด์ (3,443 ล้านบาท) เลยทีเดียว
ก่อนหน้านี้ เลสเตอร์ปฏิเสธข้อเสนอของเชลซีหลายครั้ง เนื่องจากไม่ต้องการปล่อยตัวในราคาต่ำกว่า 80 ล้านปอนด์ ขณะที่ตัวนักเตะแสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการย้ายร่วมทีมเชลซี จนเบรนแดน ร็อดเจอร์ส ตัดสินใจดร็อปจากทีม และยืนกระต่ายขาเดียวเรื่องอนาคตของเจ้าตัว
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.