Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

นักวิทยาศาสตร์พัฒนา “แจ็กเก็ตล่องหน” เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง

Football Sponsored
Football Sponsored

อีกไม่นาน “ผ้าคลุมล่องหน” ที่เคยได้ยินกันในภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ อาจจะกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ เมื่อมีทีมนักวิทยาศาสตร์จากแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังในสหราชอาณาจักร ที่เริ่มพัฒนาเสื้อแจ็กเก็ตล่องหนขึ้นมาจริง ๆ โดยเบื้องต้นสามารถพรางตัวจากการตรวจจับความร้อนได้ และอาจจะต่อยอดไปเป็นการล่องหนได้เต็มตัวในอนาคต

ภาพจาก Vollebak

ต้นแบบของเสื้อล่องหนหนีการตรวจจับความร้อน 

ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก วอลเลบัค (Vollebak) แบรนด์เสื้อผ้าที่เน้นการออกแบบโดยผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ใช้เวลา 3 ปีในการพัฒนาเสื้อแจ็กเก็ตที่เบื้องต้น เมื่อสวมใส่แล้วก็สามารถทำให้กล้องอินฟาเรด หรือกล้องถ่ายภาพความร้อนตรวจจับไม่ได้ 

ภาพจาก Vollebak

 ความลับอยู่ที่ “กราฟีน”

ความลับของเสื้อตัวนี้ อยู่ที่การใช้ กราฟีน ซึ่งเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่น โปร่งใส และนำไฟฟ้าได้สูงมาประกอบ โดยตัวแจ็กเก็ตจะติดแผ่นกราฟีน 42 ชิ้น แต่ละชิ้นกว้าง 5×5 เซนติเมตร และประกอบด้วยกราฟีนบริสุทธิ์ 100 ชั้น นำมาร้อยต่อกันเป็นแผงทั่วทั้งเสื้อ และในกราฟีนแต่ละแผ่น จะมีการเชื่อมต่อสายไฟสีทองและทองแดงไว้ด้านใน พร้อมตัวควบคุมขนาดเล็ก รองรับคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ 

ภาพจาก Vollebak

 โดยทีมวิจัยตั้งค่าโปรแกรม ให้สามารถควบคุมการแผ่รังสีความร้อนบนพื้นผิวของแจ็คเก็ต ผ่านกราฟีนแต่ละชิ้นแบบแยกกันได้โดยไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถพรางตัวจากการตรวจจับของกล้องอินฟราเรดได้นั่นเอง

ทีมวิจัยมองว่าเสื้อล่องหนมาแน่ในอีก 10 ปี

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ก็ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป ทีมวิจัยระบุว่า การทำให้มนุษย์รอดจากการโดนตรวจจับความร้อนได้ อาจจะเป็นจุดแรกของการสร้างเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ล่องหนได้จริง ๆ และคิดว่าภายใน 10 ปี บริษัทน่าจะสร้างแจ็กเก็ตล่องหนออกมาวางจำหน่ายได้สำเร็จ และอาจจะต่อยอดไปถึงการพัฒนาวัสดุให้เครื่องบินล่องหนได้ด้วย

ภาพจาก Vollebak

 สำหรับแบรนด์ วอลเลบัค (Vollebak) เป็นแบรนด์เสื้อผ้าในสหราชอาณาจักร ที่เน้นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่แปลกใหม่ โดยตัวอย่างผลงานที่ผ่านมา เช่น เสื้อแจ็กเก็ตชาร์จพลังแสงอาทิตย์ เสื้อยืดทำจากสาหร่ายที่เป็นปุ๋ยได้ใน 12 สัปดาห์ และเสื้อฮู้ดที่อยู่ได้นานกว่า 100 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก

nypost

vollebak

wired

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.