Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

วิเคราะห์บอล แร็งส์ vs โอลิมปิก ลียง วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565 | thsport.com

Football Sponsored
Football Sponsored

เพิ่ม : วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565

127

แร็งส์

ออสการ์ การ์เซีย กุนซือชาวสเปนยังไม่ชนะในซีซั่นนี้ โดยเกมล่าสุดบุกไปเสมอ สตราส์บูร์ก 1-1 

สภาพทีมจะพลาดใช้งาน โธมัส โฟเก็ต (ขาหนีบ), อาซอร์ มาตูซีว่า (กล้ามเนื้อ) และ คาย เซียร์เฮาส์ (เข่า) ไม่พร้อมรบ

ในราย วาลอน เบรีชา, เดเร็ก คูเตซ่า และ อีลาน เก็บบาล ไม่มีชื่อในนัดนี้ อานาสซิออส โดนิส มีอาการป่วย ส่วน ราฟิก กีตาน (ขาหนีบ) กำลังฟืนตัว

แต่ทาง เอ็มมานูเอล อักบาดู พ้นโทษแบน

โอลิมปิก ลียง

ปีเตอร์ บอสซ์ นายใหญ่ชาวเนเธอร์แลนด์พาทีมเปิดฤดูกาลใหม่ด้วยการคว้าชัย 2 นัดรวด เกมล่าสุดเปิดรังถล่ม ทรัวส์ 4-1 

ความพร้อม ซินาลี่ ดิโอม็องเด้ กับ เยโรม บัวเต็ง สองกองหลังมีปัญหาสภาพร่างกายไม่พร้อมรบ รวมไปถึง ฮุสเซ็ม อาอูอาร์ ส่วน อันโธนี่ โลเปส ติดโทษแบน และ ลูคัส ปาเกต้า ไม่มีชื่อเนื่องจากเตรียมย้ายทีม 

แต่ทาง มุสซ่า เดมเบเล่ หายเจ็บกล้ามเนื้อ 

11 ผู้เล่นตามคาด

แร็งส์ (3-4-3) : พาทริก เพนต์ซ – แอนดริว กราวิยง, เวาต์ ฟาส, ยูนิส อับเดลฮามิด – มักซีม บูซี่, มาร์ชาลล์ มูเน็ตซี่, ดิยง โลปี, บราดเลย์ ล็อกโก้ – มิตเชลล์ ฟาน เบอร์เกน, โฟลาริน บาโลกุน, จุนยะ อิโตะ

โอลิมปิก ลียง (4-3-3-) : เรมี่ รีอู – มาโล กุสโต้, ติอาโก้ เมนเดส, คาสเตลโล่ ลูเกบา, นิโกลัส ตาเลียฟีโก้ – โฌอันน์ เลอเปอน็องต์, แม็กซ็องซ์ กาเกเรต์, โกร็องแต็ง โตลิสโซ่ – เตเต้, อเล็กซ็องด์ ลากาแซ็ตต์, คาร์ล โตโก-เอก็อมบี

สนาม : สต๊าด โอกุสต์ เดอโลน

ผู้ตัดสิน : เฌเรมี่ สตีนาต์

ผลงานของ โอลิมปิก ลียง กำลังทำได้ดี แม้ต้องมาเยือนแต่ฝั่ง แร็งส์ ฟอร์มแย่โดยเฉพาะแนวรับที่เสียง่ายมาก มองว่า โอแอล จะครองเกมได้ดีกว่า แนวรุกทีมเยือนดุดันหวังผลได้เยอะ ซึ่งเกมนี้คงไม่พลาด 3 คะแนน

ผลที่คาด : โอลิมปิก ลียง ชนะ 2-0

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.