“ฟีฟา” เลื่อนกำหนดบอลโลก “กาตาร์-เอกวาดอร์” ดวลแข้งนัดเปิดสนาม 20 พ.ย.
เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) เตรียมขยับโปรแกรม ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ เพื่อให้ เจ้าภาพ ลงเล่นนัดเปิดสนาม
ตามกำหนดเดิม เวิลด์ คัพ 2022 จะเริ่มด้วยเกมระหว่าง เซเนกัล พบ เนเธอร์แลนด์ส วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม “ฟีฟา” ตัดสินใจเลื่อนทัวร์นาเมนต์ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 1 วัน ส่งผลให้เกมรอบแบ่งกลุ่ม ระหว่าง กาตาร์ พบ เอกวาดอร์ จะคิกออฟวันที่ 20 พ.ย. แทนโปรแกรมเดิม วันที่ 21 พ.ย.
การตัดสินใจเปลี่ยนวันเปิดสนาม ฟุตบอลโลก ต้องรอการอนุมัติของ สภาฟีฟา นำโดย จิอันนี อินฟานติโน ประธานองค์กร และ ประธานของสหพันธ์ฟุตบอลแต่ละทวีป
ตามรายงานของ “ดิ แอธเลติก” ระบุ ข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนกำหนดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก น่าจะประกาศอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.