Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

ถูกหรือผิด? กางกฎฟีฟาเช็คจุดโทษปัญหาซน

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิดระเบียบฟีฟาเช็คจังหวะจุดโทษปัญหาของดาวยิงไก่เดือยทอง หลังผู้ตัดสินริบโอกาสยิงของเขาเพราะทำผิดกฎ

แฟนบอลมากมายคงรู้สึกข้องใจกับจังหวะยิงจุดโทษของ ซน ฮึง-มิน ในเกมช่วยสเปอร์สเปิดรังถล่มโรชเดล 6-1 ในศึก’เอฟเอ คัพ’ รอบ 16 ทีม นัดรีเพลย์ เมื่อคืนนี้ เมื่อ พอล เทียร์นี ผู้ตัดสินในเกมนี้ริบโอกาสยิงจุดโทษจากทีมเจ้าบ้านเพราะนักเตะทำผิดกฎ 

เมาริซิโอ โปเช็ตติโน กับ นักเตะไก่เดือยทอง ต่างงงกับจังหวะนี้กันถ้วนหน้า เพราะทุกคนเชื่อว่าพวกเขาสมควรได้รับโอกาสยิงจุดโทษใหม่ ไม่ใช่ถูกริบโอกาสทองในการประตูไปแบบนี้ ซ้ำแล้วดาวยิงทีมชาติเกาหลีใต้ยังได้รับใบเหลืองเป็นของแถมด้วย

ล่าสุด Goal จึงกางระเบียบของฟีฟาเพื่อเช็คจังหวะปัญหานี้ทันที ผลปรากฎว่าเชิ้ตดำรายนี้ตัดสินถูกต้องแล้ว เมื่อกฎฉบับปัจจุบันระบุว่า นักเตะที่หยุดชะงักกลางคันระหว่างวิ่งเข้ามายิงจุดโทษเพื่อดึงจังหวะหลอกผู้รักษาประตู ซึ่งเรียกว่าการหลอกแบบผิดกฎ (illegal feinting) จะไม่ได้รับอนุญาตให้ยิงจุดโทษใหม่และต้องได้รับใบเหลืองเป็นบทลงโทษด้วย เพราะถือเป็นการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา

Editor Picks

  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • IN NUMBERS : ลิโอเนล เมสซี ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
  • IN NUMBERS : คริสเตียโน โรนัลโด้ ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
  • ดาวซัลโวไทยลีก 2020 : ทาร์เดลีนำโด่ง, สุขสุ่มจี้โรลเลอร์

OPTA พรีเมียร์ลีก | สถิติผู้เล่น | สถิติทีม

ข่าวอื่นๆ | ติดตามข่าว ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ เพิ่มเติมที่นี่

จากภาพช้าจะเห็นได้ชัดเจนว่า ซน ฮึง-มิน หยุดชะงักระหว่างวิ่งเข้ามาก่อน 1 จังหวะ จากนั้นเขาถึงจะขยับเข้าไปยิงจุดโทษลูกนั้น

ขณะเดียวกัน คริส ฟอย อดีตผู้ตัดสินพรีเมียร์ลีก ช่วยยืนยันเรื่องนี้ผ่าน BT Sport อีกเสียงว่า “มันคือสิ่งที่ถูกเรียกการหลอกแบบผิดกฎ (illegal feinting)”

“เขาได้รับใบเหลืองถูกต้องแล้ว นี่คือการตัดสินที่ถูกต้องแม้ว่ามันอาจจะไม่ถูกใจก็ตาม”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.